Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกล้า ทองขาว, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอิสรา ศุขวัฒน์, 2507-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-04-04T14:53:27Z-
dc.date.available2023-04-04T14:53:27Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5410-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาตอนปลาย เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย จำนวน 329 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบโควตา และเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีถัน (วัฒนานันท์ อุปถัมภ์) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียนอยู่ในระดับมากอันดับแรกคือ ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการจัดสุขศึกษาในโรงเรียน และด้านการจัดสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และเมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่า ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน และด้านการจัดสุขศึกษาในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหาการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน คือ งบประมาณมีไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ห้องนำห้องห้องส้วมไม่สะอาด และบุคลากรห้องพยาบาลมีไม่เพียงพอและข้อเสนอแนะคือควรมีครูพยาบาลอยู่ประจำห้องตลอดเวลา ควรมีทีวีครบทุกห้องเรียนและควรซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนสุขศึกษาใหม่ ตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอนามัยโรงเรียนth_TH
dc.subjectบริการสุขภาพในโรงเรียน--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยในโรงเรียน โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2th_TH
dc.title.alternativeA study of the school health program in Seekan (Wattanananuppathum) School under the office of Bangkok Educational Service Area 2en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.nameปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112596.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons