Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5619
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดหวานร่วมภาครัฐ-เอกชน ในอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
Other Titles: Factors affecting returns of farmers participating in the public-private collaboration project on sweet corn production in Na Wang district, Nong Bua Lam Province
Authors: ภวัต เจียมจิณณวัตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ช่อผกา มาชาดี, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพดหวาน--การปลูก
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการปลูกข้าวโพดหวานร่วมภาครัฐ-เอกชน 3) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดหวานของเกษตรกร และ 4) ปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.10) มีอายุเฉลี่ย 53.92 ปี จบการศึกษาตํ่ากว่าระดับประถมศึกษา/ประถมศึกษา (ร้อยละ 63.90) ทำนาเป็นอาชีพหลัก (ร้อยละ 79.40) มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.59 คน มีจำนวนพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 20.88 ไร่ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 30.34 ปี มีประสบการณ์ปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 1.17 ปี มีรายได้ภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 137,241.29 บาทต่อปี และมีภาระหนี้สินในภาคเกษตร ณ ปี 2564 เฉลี่ย 148,760.65 บาท 2) เกษตรกรมีระดับความพึงพอใจต่อโครงการปลูกข้าวโพดหวานร่วมภาครัฐ-เอกชน ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.83) และในด้านระบบเกษตรพันธสัญญา ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.36) 3) เกษตรกรมีต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่ 4,040.93 บาท มีต้นทุนที่เป็นเงินสดต่อไร่ 468.19 บาท มีต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสดต่อไร่ 3,572.74 บาท โดยมีต้นทุนผันแปรรวมเฉลี่ยต่อไร่ 3,666.76 บาท ต้นทุนคงที่รวมเฉลี่ยต่อไร่ 374.17 บาท รายได้รวมเฉลี่ยต่อไร่ 4,126.59 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่ 459.83 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดเฉลี่ยต่อไร่ 3,658.40 บาท ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 85.66 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 0.14 บาทต่อกิโลกรัม 4) ปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของเกษตรกร คือ ประสบการณ์ในการทำการเกษตรที่มากขึ้นจะทำให้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร (2) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด และ (3) ผลตอบแทนสุทธิ.
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5619
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons