Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5654
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | วรินธร มณีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | ชัยณรงค์ ภูโทถ้ำ, 2511- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-04-27T03:52:37Z | - |
dc.date.available | 2023-04-27T03:52:37Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5654 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เลี้ยงโคเนื้อและพ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นในตลาดนัดโคกระบือ (2) สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร (3) ค่าใช้จ่ายการนาโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ และ (4) ปัญหาการจัดการผลิตโคเนื้อของเกษตรกร ผลวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่อายุประมาณ 51-60 ปี เป็นเพศชาย มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองผสมบราห์มัน สำหรับพ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี มีประสบการณ์ในการรวบรวมโคเนื้อมากกว่า 10 ปี (2) เกษตรกรกลุ่มที่ 1 ร้อยละ 90.90 มีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า 10 ไร่ และร้อยละ 52.94 เลี้ยงโคเนื้อแบบผูกล่าม ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 36.80 มีพื้นที่ถือครองมากกว่า 10 ไร่ ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงโคเนื้อแบบปล่อยเลี้ยงและผูกล่ามในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีการใช้อาหารหยาบสด อาหารหยาบแห้ง และมีการเสริมอาหารข้นเลี้ยงโคเนื้อ นอกจากเกษตรกรจะใช้วัสดุเหลือใช้จากไร่นาเป็นอาหารเลี้ยงโคแล้ว ยังมีการซื้ออาหารหยาบแห้งจากภายนอกฟาร์ม เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีค่าใช้จ่ายด้านพันธุ์โคเนื้อมากกว่าร้อยละ 90 (3) ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ ทั้งเกษตรกรและพ่อค้าจะใช้รถยนต์ 6 ล้อ เป็นพาหนะขนส่ง โดยมีฟางข้าวเป็นวัสดุรองพื้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของโคเนื้อระหว่างขนส่ง สาหรับค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือ ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดโคกระบือของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นค่าน้ามันเชื้อเพลิงและค่าพาหนะ จำนวนโคเนื้อโดยเฉลี่ยที่เกษตรกรกลุ่มที่ 1 จำหน่ายคือ 2.5 ตัวต่อรอบการผลิต 1.5 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 24,362.27 บาทต่อตัวและมีรายได้เฉลี่ย 30,072 บาทต่อตัว ส่วนจำนวนโคเนื้อโดยเฉลี่ยที่เกษตรกรกลุ่มที่ 2 จำหน่ายคือ 3.5 ตัวต่อรอบการผลิต 1.5 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 23,418.13 บาทต่อตัวและมีรายได้เฉลี่ย 31,351.13 บาทต่อตัว ค่าใช้จ่ายการนำโคเนื้อเข้าสู่ตลาดนัดของพ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นค่าน้ามันเชื้อเพลิงและค่าพาหนะ รองลงมาคือค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม และ (4) สำหรับปัญหาสำคัญของการเลี้ยงโคเนื้อ คือ มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างในแปลงนา รองลงมาคือ อาหารข้นและอาหารหยาบในฤดูแล้งหายาก และยารักษาโรคมีราคาสูง ตามลำดับ ในขณะที่พ่อค้ารวบรวมโคเนื้อท้องถิ่นมีปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการรวบรวมโคเนื้อ คือ โคเนื้อมีจำนวนน้อย และมีการกระจายตัวในพื้นที่ต่างๆ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | โคกระบือ--การตลาด | th_TH |
dc.subject | โคกระบือ--การเลี้ยง | th_TH |
dc.title | การจัดการผลิตโคเนื้อที่จำหน่ายผ่านตลาดนัดโคกระบือภูดิน จังหวัดกาฬสินธุ์ | th_TH |
dc.title.alternative | Production management of beef cattle traded at Poodin Cattle and Buffalo Market, Kalasin Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study (1) socio-economic status of farmers and collective traders in the rural cattle and buffalo market, (2) beef cattle production by farmers, (3) expenses of handling cattle to cattle and buffalo market, and (4) beef cattle production problems encountered by farmers. This was a survey research conducted by directed interviews. The study population was 220 farmers who raised beef cattle and collective traders at Poodin cattle and buffalo market in Kalasin Province. A sample population of 30 farmers and 15 traders who lived in the districts of Mueang Kalasin, Yang Talat, Sahat Sakhan, Kamalasai, and Nong Kung Si, were purposively selected. Both interviewed samples were divided into two groups as Group 1: farmers who had raised or traders who had bought and sold less than 5 cattle and Group 2: farmers who had raised or traders who had bought and sold 5 or more cattle. Data were statistically analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The results showed that (1) most beef cattle farmers were male, aged between 51- 60 years, and finished elementary education. The majority of farmers raised native-Brahman cross-bred cattle. Considering beef cattle collective traders, most of them were more than 60 years old with over 10 year experience in beef trading. (2) The majority (90.90%) of group 1 farmers possessed less than 10 rai of land (1 rai=1,600 m2) and 52.94% of group 1 farmers raised cattle by tethering in the backyard or paddy field; while 36.80% of group 2 farmers possessed more than 10 rai of land and raised cattle by free range grazing and tethering in the backyard or paddy field in the same proportion. Fresh and dried roughage were fed along with concentrated feed supplement. Besides crop residue from cultivated areas, dried roughage was bought for feeding cattle as well. Both group of farmers spent more than 90% for animal breed. (3) Consider on the expenses of handling cattle to market, the main expense of both group of farmers was transportation including gasoline. Group 1 farmers, the average number of selling cattle was 2.5 cattle per production cycle (1.5 year) with 24,362.27 Baht of average expenses per cattle and 32,072 Baht of the average income per cattle. The average number of selling cattle of group 2 farmers was 3.5 cattle per production cycle (1.5 year) with 23,418.13 Baht of average expense per cattle and 31,351.13 Baht of the average income per cattle. The highest part of marketing cost for collective traders was transportation including gasoline, followed by the expense of food. Furthermore (4) the main problems of beef cattle production were herbicide residues in paddy fields, followed by a scarcity of concentrated and roughage feed sources during the dry season, and the high cost of medicine, respectively, while the main problem of collective traders for gathering beef cattle was the low number of animals scattered over large areas. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
150126.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License