Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/568
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | มยุรา อินสมตัว, 2519- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-13T04:22:22Z | - |
dc.date.available | 2022-08-13T04:22:22Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/568 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 | th_TH |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการพิจารณา คดีปกครองและคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองและการอนุญาโตตุลาการของต่างประเทศ และของไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการนําข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไปปรับใช้ในคดีปกครองทั่วไป และการอนุญาโตตุลาการของศาลปกครองของไทย 4) เพื่อเสนอแนวทางปรับใช้ ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองทั่วไป และการอนุญาโตตุลาการ ของศาลปกครองของไทย วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตํารา บทความ งานวิชาการอื่น ๆ วิทยานิพนธ์ คําพิพากษาและคําสั่งของศาลทั้งในไทยและต่างประเทศ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบคดีปกครองที่ศาลยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยขึ้นพิจารณาแก่คดี ผลการศึกษาพบว่า 1) คดีปกครองเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาลและหลักในการพิจารณา เรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชนมุ่งคุ้มครองผลประโยชน์โดยส่วนรวม 2) ในคดีปกครองทั่วไป ศาลปกครองสูงสุดของไทยกับฝรั่งเศสเห็นว่าปัญหาอํานาจศาล เงื่อนไขการฟ้องคดี นิติกรรมทางปกครองที่ทํา โดยปราศจากอํานาจ โดยฝ่าฝืนกฎหมาย และมูลเหตุจูงใจทางกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งฝรั่งเศสเคร่งครัดในการยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ส่วนไทยเห็นว่า ศาลมีดุลพินิจที่จะยกหรือไม่ยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวก็ได้ ส่วนการอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนหรือ ปฏิเสธการบังคับตามคําชี้ขาดต้องเป็นกรณีที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น 3) คดีปกครอง ทั่วไปและการอนุญาโตตุลาการ ศาลใช้ดุลพินิจยกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยไม่ปรากฏ ขอบเขต 4 ) คดีปกครองทั่วไปศาลควรมีขอบเขตชัดเจนในการใช้ข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ของประชาชน พิจารณาอํานาจศาล เงื่อนไขการฟ้องคดีและการดําเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และ ควรกำหนดประเด็นก่อนการพิจารณาคดี ส่วนคดีอนุญาโตตุลาการศาลมีอํานาจเพียงตรวจสอบความชอบด้วย กฎหมายของคําชี้ขาด หากจะพิจารณาถึงข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการจะต้องใช้หลักกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างเคร่งครัด และควรมีการพิจารณาคดีอนุญาโตตุลาการเพียงศาลเดียว | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2018.31 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | - |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ความมั่นคงแห่งชาติ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย | th_TH |
dc.title | ปัญหาการปรับใช้ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในคดีปกครองของศาลปกครอง | th_TH |
dc.title.alternative | Problems on the application of law concerning public order of the administrative court in administrative cases | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2018.31 | - |
dc.identifier.url | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2018.31 | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were 1) to study concepts and principles in trying administrative cases and cases concerning public order, 2) to study concepts and legal principles on public order, 3) to analyst problems on the application of law concerning public order by the Administrative Courts of Thailand to administrative cases and arbitration cases, and 4) to propose a guideline on the application of law concerning public order to administrative cases and arbitration cases by the Administrative Courts of Thailand. This thesis employed document analysis methodology using data from laws, law textbooks, legal articles and other academic papers, thesis, judgements and orders of Thai and foreign courts by a comparative study on administrative cases in which laws concerning public order were the issues of the case. The study found that: 1) Administrative cases focus on the courts fact-finding authority and the principle of law concerning public order was to protect public interest. 2) In general administrative cases, both the Thai Supreme Administrative Court and the French Conseil d'Etat ruled that issues on the court’s jurisdiction, justifiability or reviewability, ultra vires of administrative actions, direct contradiction of law, and legal motives are all problems of laws concerning public order. In french jurisdiction, the application of such was strict and consistent, while the Thai courts seemed to have extensive discretion of the application on a case by case basis. In arbitration cases, setting aside arbitral award or refusal of arbitral award’s enforcement can only be done when the award was in violation of laws concerning public order. 3) In both general administrative cases and arbitration cases, the courts preserved extensive discretion in raising, sua sponte, matter of law concerning public order to the case without limitation. 4) In general administrative cases, the courts should have a clear scope of power in applying laws concerning public order on issues of justifiability and of public interest proceedings. The courts should also determine issues of the case prior to the actual try. In arbitration cases, the courts had only the power to review the legality of arbitral awards, therefore, in ruling on arbitration cases, laws concerning public order should be used strictly and should be tried exclusively in only one specialized court | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สิริพันธ์ พลรบ | th_TH |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib161724.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License