Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเอื้อมพร มาลาวงษ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-02T07:54:43Z-
dc.date.available2023-05-02T07:54:43Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5766-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับฝ่ายตามการรับรู้ ของตนเอง และผู้ใต้บังคับบัญชาในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับฝ่ายกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร (4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงาน เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร และผู้ใต้บังคับบัญชาในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 375 คน เครึ่องมึอที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นใหม่และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนี้อหา และค่าความเชื่อมั่นโดยมีค่าเท่ากับ 0.94 และ 0.75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะหข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารระดับฝ่ายและผู้ใต้บังดับบัญชามีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบภาวะ ผู้นำของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จได้แก่ ผู้นำ การเปลี่ยนแปลงและผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ส่วนผู้นำแบบปล่อยตามสบายไม่อาจทำให้การปฏิบัติงานประสบ ผลสำเร็จ (2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลในการปฎบัติงานของผู้บริหารระดับฝ่ายอยู่ในระดับ มาก (3) รูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้นำแบบแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลใน การปฏิบัติงานในระดับมาก ส่วนผู้นำแบบปล่อยตามสบายมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานใน ระดับน้อยโดยภาพรวมรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับฝ่ายในระดับปานกลาง (4) กลุ่มตัวอย่างได้เสนอรูปแบบภาวะ ผู้นำของผู้บริหารระดับฝ่ายไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในความ ถูกต้อง มีความยุติธรรมเป็นกลาง มีความเสียสละ ซึ่อสัตย์ สุจริต มีวิสัยทัศน์ สามารถบริหารงานในเชิงรุก ให้ ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม สามารถผสมผสานการทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ในส่วนของ แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำนั้นหน่วยงานด้านบุคลากรควรจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับบุคลากรทุกระดับเพื่อเตรียม ความพร้อมในการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารและมีการพัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้บริหารระดับฝ่ายอย่างสม่ำเสมอเพื่อ เป็นการเสริมสร้างความรู้ส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ส่วนการสรรหาบุคคลเป็นผู้บริหาร ระดับฝ่ายนั้นควรจะต้องใช้ระบบคุณธรรรมในการคัดเลือกth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2008.421-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารระดับฝ่ายในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeA study of effective leadership of first-level managers of Bangkok Metropolitan Administration's District Officesth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2008.421-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to : (1) study leadership styles of First-Level Managers of Bangkok Metropolitan Administration’s District Offices according to their own perception and their subordinates’ perception ; (2) study level of effectiveness of First-Level Managers of Bangkok Metropolitan Administration’s District Offices ; (3) study the relation between leadership styles of First-Level Managers of Bangkok Metropolitan Administration’s District Offices and their operational effectiveness ; and (4) propose appropriate guideline for leadership development of First-Level Managers of Bangkok Metropolitan Administration’s District Offices . The research samples were First-Level Managers of District Offices under Bangkok Metropolitan Administration and their subordinates, totally 375. Instruments used were 2 sets of questionnaires developed by the researcher, with content accuracy tested and reliability level at 0.94 and 0.75. Statistical tools employed were percentage, mean, standard deviation, t-test. F-test, ANOVA and correlation coefficient. Research results revealed that : (1) First-Level Managers and their subordinates agreed that leadership styles that enhance operational success were change agent and exchange styles while laissez-faire style did not result in operational success ; (2) samples agreed that the effectiveness of First-Level Managers of Bangkok Metropolitan Administration’s District Offices was in high level ; (3) change agent and exchange leadership styles related to operational effectiveness in high level, While laissez-faire style related to operational effectiveness in low level, Overall, leadership style related to operational effectiveness of First-Level Managers of District Offices under Bangkok Metropolitan Administration in moderate level; and (4) samples preferred managers with knowledge and ability to solve problems, who were adhere to correctness, fairness, impartiality, sacrifice, honesty, performed proactively with visionary and had teamwork preference while integrated appropriately based on situation. Moreover, training should be provided to all levels of personnel in preparation for their promotion to management position. In the same time, development for First-Level Managers should be conducted regularly to enhance their knowledge, field study should be offered to inspire their vision; lastly, personnel selection should always be performed with merit system applicationen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108619.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons