Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5767
Title: | แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จำกัด จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | The guidance for unpaid loan of Mueang Phan Agricultural Cooperatives Limited members, Chaing Rai Province |
Authors: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา กันต์ฤทัย ก้องเกียรติธีระ, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | การชำระหนี้ สหกรณ์การเกษตร |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จากัด 2) สภาพการกู้ยืมเงินและลักษณะการชาระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพื้นฐานกับสภาพการชาระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชาระของสมาชิกสหกรณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51 ถึง 60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพการเกษตร สถานภาพทางครอบครัวสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน โดยมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์มากกว่า 10 ปี ไม่มีภาระในการส่งบุตรเรียน มีที่ดินของตนเองทั้งหมด ขนาดพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 5–10 ไร่ มีรายได้และค่าใช้จ่ายในครัวเรือนต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และไม่มีภาระหนี้สินนอกระบบ 2) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่กู้เงินระยะปานกลางโดยใช้หลักทรัพย์ค้าประกัน เงินกู้ที่สมาชิกได้รับส่วนใหญ่นำไปลงทุนในสินทรัพย์การเกษตร ลักษณะชำระหนี้ของสมาชิกเป็นแบบรายงวดจนครบตามจำนวนหนี้สิน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพื้นฐานของสมาชิกกับสภาพการชำระหนี้เงินกู้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) จากการสนทนากลุ่มของคณะกรรมการและฝายจัดการสหกรณ์พบว่าปัญหาและอุปสรรคของสมาชิกที่ค้างชาระหนี้ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพสูง สมาชิกประสบกับภัยธรรมชาติ สมาชิกมีต้นทุนการผลิตสูงและราคาผลผลิตตกต่ำ แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ คือ สหกรณ์ควรจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการทำการเกษตรที่มีคุณภาพดีและราคาที่เหมาะสมมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก สหกรณ์ควรจัดกิจกรรมในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุนการผลิตแก่สมาชิก เพื่อสมาชิกมีรายได้มาชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ สหกรณ์ควรเพิ่มช่องทางการตลาดในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตของสมาชิกออกสู่ตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของสมาชิก และให้ข่าวสารข้อมูลในการดำเนินงานของสหกรณ์ให้แก่สมาชิกโดยทั่วกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5767 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152047.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License