Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6001
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
Other Titles: An adoption of land development technology by farmers in Mae Charim District, Nan Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นาราลักษมณ์ ทานะ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การพัฒนาที่ดิน--ไทย
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน 3) การยอมรับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน และ 6) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนมากผู้นำเกษตรกรเป็นหมอดินอาสา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.50 คน มีรายได้รวมของครัวเรือนจากภาคการเกษตร เฉลี่ย 52,725.41 บาทต่อปี มีต้นทุนภาคการเกษตร เฉลี่ย 31,042.62 บาท พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 16.09 ไร่ จำนวนแรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.19 คน และพื้นที่ถือครองทางการเกษตรทั้งหมด เฉลี่ย 20.40 ไร่ 2) เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินโดยภาพรวมระดับปานกลาง จากแหล่งความรู้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสา การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน/แปลงสาธิต โทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินโดยภาพรวมในระดับปานกลาง มีประเด็นที่เกษตรกรตอบถูกน้อยกว่าข้ออื่นๆ คือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกหญ้าแฝก และเกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินในภาพรวมระดับมาก โดยให้ความคิดเห็นมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. การไถกลบตอซังลดปัญหาหมอกควัน และการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกวิธี 3) การยอมรับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในเชิงปฏิบัติของเกษตรกร มีประเด็นที่เกษตรกรยอมรับปฏิบัติในระดับมากที่สุด ได้แก่ การผลิตนํ้าหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และการใช้โดโลไมท์ 4) ปัจจัยด้านแหล่งความรู้การพัฒนาที่ดิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การถือครองที่ดินทางการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน และจำนวนแรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการยอมรับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร 5) ปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาหลัก 2 ประการ ได้แก่ ปัญหาด้านเทคโนโลยีการไถกลบตอซัง และปัญหาด้านเทคโนโลยีการใช้วัสดุปูนทางการเกษตรปรับปรุงดินกรด และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ควรมีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านการพัฒนาที่ดินต่างๆ อย่างต่อเนื่อง 6) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกร ได้แก่ รณรงค์และถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม วางแผนและจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการเพิ่มการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6001
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159711.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons