Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6167
Title: การจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ ตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Organic-vegetables production management of farmer Group under Cha-am Community Cooperative at Cha-am District, Phetchaburi Province
Authors: ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมพ์วิภา หัสโน, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ผักไร้สารพิษ--การผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) ต้นทุนและผลตอบแทนของการจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 3) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ จำนวน 50 ราย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เกษตรตัวอย่างที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ เกษตรกรผลิตผักตามความต้องการของตลาด มีการผลิตผักหลายชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง พริก มะเขือ ผักกาดขาว กรีนโอ๊ค เป็นต้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์เข้ามาดูแลอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วนำไปส่งให้กับสหกรณ์นิคมชะอำทุกวัน สหกรณ์จะตรวจสอบแล้วติดบาร์โค้ต ก่อนจัดจำหน่ายเพื่อที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิตได้ 2) ต้นทุนและผลตอบแทนของการจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การปลูกผักแปลงเปิดทั่วไปและการปลูกในโรงเรือน พบว่า ต้นทุนการปลูกผักในแปลงเปิดทั่วไปมีต้นทุน 400 – 900 บาทต่อไร่ และต้นทุนการผลิตผักในโรงเรือนมากกว่า 1,400 บาทต่อไร่ ส่วนผลตอบแทนในการปลูกแปลงเปิดทั่วไปเท่ากับ 1,000- 1,500 บาทต่อไร่ และการปลูกในโรงเรือนให้ผลตอบแทนที่มากกว่า 1,500 บาทต่อไร่ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรภายใต้สหกรณ์นิคมชะอำประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกผักอินทรีย์ มีองค์ความรู้ มีทัศนะคติที่ดี มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน การวางแผนผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค กระจายสินค้าได้เร็ว ความมีคุณธรรม ครอบครัวเข้มแข็ง การศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการควบคุมคุณภาพการสร้างมาตรฐาน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากสหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด ภาครัฐให้ความรู้ ดูแล ตรวจสอบขับเคลื่อนกลุ่มองค์กรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ปัญหาที่พบในการจัดการการผลิตผักอินทรีย์ คือ สภาพภูมิอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6167
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons