Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6627
Title: แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ
Other Titles: Development guideline of knowledge management in the budget bureau
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนีย์ เอมวรรธนะ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงบประมาณ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ หน่วยวิเคราะห์ ได้แก่ สำนักงบประมาณ ประชากรคือ บุคลากรของสำนักงบประมาณที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงด้านการจัคการความรู้ ประธานคณะทำงานจัดการความรู้ เลขานุการคณะทำงานจัดการความรู้ และผู้ปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมจำนวน 4 คน เครื่องมือคือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีจากเอกสาร สร้างแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผล ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ เริ่มจากกำหนดนโยบาย กำหนดโครงสร้างผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนและวิธีการเริ่มจากการบริหารการเปลี่ยนแปลง และกระบวนการจัดการความรู้ 2) ปัญหา อุปสรรค การจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ ประกอบด้วยปัญหา 3 ด้าน คือ (1) ด้านบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารยังไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดการความรู้มากนัก เจ้าหน้าที่าระดับขาดความรู้ ความเข้าใจ ส่วนเกี่ยวข้องไม่มีเวลาเนื่องจากงานประจำ (2) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โครงสร้างองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ ไม่เอื้อต่อการจัดการความรู้ อำนาจหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน (3) ด้านระบบการจัดการความรู้ ยังไม่มีการวัดผลการจัดการความรู้ และการสร้างแรงจูงใจ การสื่อสารและการถ่ายทอดความรู้ยังไม่มีประสิทธิภาพ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณ ประกอบด้วย (1) ด้านบุคคลผู้บริหารต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังโดยเข้ามามีส่วนร่วม ปรับเปลี่ยนทัศนคติบุคลากร กำหนดหน้าที่ด้านการจัดการความรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ (2) ค้านโครงสร้างฟื้นฐาน ปรับโครงสร้างองค์การให้ยืดหยุ่น กำหนดให้การจัดการความรู้เป็นหน้าที่หลัก และกำหนดองค์กรมาดำเนินการเป็นงานประจำ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การให้เอื้อต่อการจัดการความรู้ (3) ค้านระบบการจัดการความรู้ คือ ต้องสื่อสาร ประชาสัมพันช์ ให้การอบรม ต้องมีการวัดผลการจัดการความรู้เป็นระยะ และการจูงใจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6627
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_113513.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons