กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6783
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จำเนียร ราชแพทยาคม | th_TH |
dc.contributor.author | วันเพ็ญ นามบุญเรือง, 2531- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-28T02:09:41Z | - |
dc.date.available | 2023-06-28T02:09:41Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6783 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร (2) ศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร (3) ศึกษาปัจจัยทางสังคมและปัจจัยด้านดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในอำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการป้องกันยาเสพติดโดยตรง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้ปกครอง และเยาวชนกลุ่มเสี่ยงของ 115 หมู่บ้าน จำนวน ทั้งสิ้น 3,515 คน คำนวนขนาดตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 575 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบ่งสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับความคิดเห็นของความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้วโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายกลุ่มเป้าหมายพบว่า กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ตามลำดับ และ (3) ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ การมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การกำหนดแนวทางในการป้องกันปัญหายาเสพติด และการดำเนินกิจกรรมการป้องกันยาเสพติดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ยาเสพติด--การป้องกัน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการป้องกันปัญหายาเสพติดของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร | th_TH |
dc.title.alternative | Factors relating the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were (1) to study level of the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province (2) to study level of knowledge, understanding and opinion of people toward the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province; and (3) to study social factors and implementing factors relating the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province. This study was a survey research. Population for this study was people of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province who were involved with and were stakeholders of drug prevention directly including of headmen, committee of the village, parents and risk youths of 115 villages at the total of 3,515 people. Sample size were determined by using Taro Yamane formula and obtained 575 samples. Sampling method was stratified random sampling. Research instrument for data collecting was a questionnaire. Statistics for data analysis employed frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient. The finding of the study revealed that (1) an overview of level of success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province was at high level (2) an overview of level of knowledge, understanding and opinion of people toward the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province was at high level. Considering in each target group, it showed the mean among parent group was at high level, followed by risk youths, village headmen and committee of the village, respectively, and (3) social factors in term of knowledge about drug, drug prevention measures and drug prevention implementing factors had positive correlated with the success on drug prevention of Kham Khuean Kaeo District in Yasothon Province at statistical significant at .05 level. | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161115.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License