Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6853
Title: | แนวทางการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ |
Other Titles: | Guidelines for teacher maintenance in Sueksa Songkhro Schools under the Office of Special Education Bureau, Grop 7, Southen Region |
Authors: | กุลชลี จงเจริญ ธีรนัย แซ่โหงว, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ครู การธำรงรักษาพนักงาน การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ และ (2) ศึกษาแนวทางการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษา สงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 205 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย และผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการธำรงรักษาครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านส่วนตัว ด้านงานที่รับผิดชอบ ด้านผู้ร่วมงาน และด้านองค์การ ตามลำดับ และ (2) แนวทางการธำรงรักษาครู พบว่า (2.1) ด้านองค์การ ควรได้รับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการ และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน รวมถึงการพัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ควรมีการยกย่องเชิดชู การจัดบ้านพักในโรงเรียน การเลี้ยงสังสรรค์ การได้รับค่าล่วงเวลาอย่างเหมาะสม ( 2.2) ด้านผู้บังคับบัญชา ควรได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การสื่อสารกับครูอย่างตรงไปตรงมา ความเข้าใจบริบทของโรงเรียน การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้ครูเห็นเป็นแบบอย่าง ความเข้าใจการจัดการศึกษาลักษณะการศึกษาสงเคราะห์ และการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากร (2.3) ด้านงานที่รับผิดชอบ ควรได้รับการพัฒนาในด้านการมอบหมายงานให้เป็นไปตามศักยภาพของครู ควรมีการเกลี่ยภาระงานของครู และความชัดเจนในเรื่องลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ และสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและยุติธรรม การพัฒนาความสมดุลระหว่างงานและชีวิต และการพัฒนาโอกาสความก้าวหน้าในงาน และ (2.4) ด้านผู้ร่วมงาน ควรได้รับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยผู้บริหารโรงเรียนควรจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมของครู และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูให้มากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6853 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_162015.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License