Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6857
Title: การวิเคราะห์สาเหตุและการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาบนเขตพื้นที่สูง : กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง
Other Titles: An analysis of dropout causes and problems solving of Thai hill tribe students in secondary scyhool in high land area : a case study of a school in Lampang Province
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤชล พิมพ์สว่าง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การออกกลางคัน
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล (2) ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และ(3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 76 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 608 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและการทำงานเป็นทีมของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบสมมติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการสนับสนุนทรัพยากรการสอน ด้านการนิเทศการสอน และด้านการวัดประเมินผลและวิจัย (2) ระดับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน ด้านการตัดสินใจร่วมกัน ด้านการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่ม และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6857
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_124208.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons