Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6911
Title: ปัจจัยด้านพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบภายในบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด
Other Titles: Behavior factors influencing performance of internal audit office, Thailand Post Company Limited
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา มะพล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทไปรษณีย์ไทย. สำนักตรวจสอบภายใน
พฤติกรรมองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยด้านพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ (2) เพื่อทราบความคิดเห็นของพนักงานต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพฤติกรรมองค์การกับผลการปฏิบัติงานขององค์การ วิธีดำเนินการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นพนักงานสังกัดสำนักตรวจสอบภายใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที ค่าทดสอบเอฟ และไคสแควที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า พนักงานที่สังกัดสำนักตรวจสอบภายใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 50 ปี มีอายุงานมากกว่า 20 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งระดับ 6-7 มีรายได้มากกว่า 75,001 ขึ้นไป โดยในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า องค์การให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การมากที่สุด ในด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศในองค์การและการเรียนรู้และการพัฒนารองลงมาคือ ด้านบรรยากาศในการทำงาน และองค์การให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน มนุษยสัมพันธ์ในองค์การน้อยที่สุด และเห็นว่า องค์การมีผลการปฏิบัติงาน ในปัจจัยที่เป็นตัวเงิน และปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงิน อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงิน พบว่า องค์การมีผลการปฏิบัติงาน ด้านมุมมองด้านลูกค้า อยู่ในระดับสูง ด้านมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านมุมมองด้านกระบวนการ ภายใน อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยพฤติกรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานขององค์การ ที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการทคสอบสมมติฐาน พบว่าเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้น มีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านพฤติกรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานขององค์การ ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6911
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_124731.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons