Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7036
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฟิลลิปส์ จิระประยุต, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-06-30T08:16:26Z-
dc.date.available2023-06-30T08:16:26Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7036-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีที่มาจากผลการด้าเนินงานที่ยอดเยี่ยมและการได้รับรางวัลระดับชาติและสากลมากมายของ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่สร้างความภาคภูมิใจและส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศโดยรวม ความสำเร็จเหล่านี้ อาจมีผลมาจากการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ (2) ศึกษา ความแตกต่างกันของความคิดเห็นของแต่ละสายงานต่อระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มาประยุกต์ใช้ (3) ศึกษาเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของหน่วยธุรกิจน้ำมัน (4) ศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ และ (5) เสนอแนะ แนวทางการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณและมีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วย ประชากรคือพนักงาน ในสังกัดหน่วยธุรกิจน้ำมัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามใช้รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดย การสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานในสังกัดหน่วยธุรกิจน้ำมัน 313 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และ (2) แบบสัมภาษณ์ใช้รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับสูง11 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ไม่ น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) แต่ละสายงานของหน่วยธุรกิจน้ำมันมีความเห็นต่อความสำเร็จในการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ในหน่วยธุรกิจน้ำมันไม่แตกต่างกัน (3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสำเร็จของหน่วยธุรกิจน้ำมัน รวมร้อยละ 83.7 (4) จุดแข็งคือทัศนคติพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวได้ดี จุดอ่อนคือการสื่อสารไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและพนักงานรุ่นบุกเบิกไม่ค่อยปรับตัว โอกาสคือนโยบายรัฐสนับสนุน อุปสรรคคือนโยบายรัฐและกฎหมายไม่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ และ (5) ข้อเสนอแนะคือควรศึกษา วิเคราะห์ บูรณาการ และประยุกต์ใช้เครื่องมือการบริหารจัดการในระยะเวลาที่เหมาะสมมีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ สื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาบุคลากรให้มีทัศนคติที่ดีและสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของสมรรถนะ ให้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบอย่างมีประสิทธิภาพ ( 2) ควรมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นลักษณะเฉพาะตามวิถีของ ปตท. (PTT‘s Way) ที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมองค์กร ไม่ซ้าซ้อน ง่ายต่อการปฏิบัติ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเป็นองค์กรที่นำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน และ (3) ควรสร้างค่านิยมร่วมในการประยุกต์ใช้เครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ให้แก่บุคลากรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบริษัทปตท. -- การจัดการth_TH
dc.subjectการจัดการธุรกิจth_TH
dc.titleการนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในหน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)th_TH
dc.title.alternativeImplementation of new public management tools in oil business unit, PTT Public Company Limitedth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research was originated from excellent performance and many national and international awards of the Oil Business Unit, PTT Public Company Limited which created pride and positive image of the country. These achievements might be the results of the implementation of new public management tools. Therefore, the researcher was interested in conducting the research with the following objectives: (1) to study the level of success in implementing the new public management tools in Oil Business Unit; (2) to study the difference of the opinions of each business function on level of success in implementing the new public management tools in Oil Business Unit; (3) to study the new public management tools influencing the success of the Oil Business Unit; (4) to study the strength, weakness, opportunity, and threat of implementing the new public management tools; and (5) to recommend the appropriate approach to enhance the implementation success of new public management tools. This study was a survey research, both quantitative and qualitative. Population comprised personnel of Oil Business Unit. Instruments used were: (1) questionnaire for collecting both quantitative and qualitative data from 313 officers obtained via proportional stratified random sampling; (2) interview form for collecting qualitative data from in-depth interview of 11 senior executives derived from purposive sampling. Quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and stepwise regression analysis. Qualitative data were analyzed using the inductive analysis and the typological analysis. The results of this research were: (1) the level of success in implementing the new public management tools in Oil Business Unit was not less than 80%; (2) no differences were found among opinions of each business function on level of success in implementing the new public management tools in Oil Business Unit; (3) human resource management, quality, safety, occupational health, and environment management, and strategic management were factors positively influenced the success of the Oil Business Unit at 83.7 %; (4) strength was attitude of ready to change and adapt; weakness was ineffective communication and un-readiness to adapt of some senior officers; opportunity was supporting government policy; and threat were government policy and law that did not foster the business; and (5) recommendations were: there should be appropriate study, analysis, integration and application of new management tools at the right time, evaluation of the implementation should be conducted systematically, also, communication on the implementation should be provided to personnel so to enhance their knowledge and understanding, positive attitude, and morale. Researcher suggested the followings: (1) there should be an emphasis of the development of competency-based human resource management that covered all functions more efficiently; (2) the organization should create a unique management system that aligned with the PTT’s way, organizational context and culture, with no redundancy, but with practical, enhancing competitive advantage, and ability to be sustainable change leader; and (3) shared value to apply new public management tools in their work should be instilled to all personnelen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142717.pdfเอกสารฉบับเต็ม9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons