Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7038
Title: | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Factors affecting credit repayment of housing loan, TMB Bank Public Company Limited in Mueang District, Chiang Mai Provinces |
Authors: | วรรณี ชลนภาสถิตย์ อุทัย กุลสัมพันธมิตร, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ธนาคารไทยพาณิชย์ การชำระหนี้ สินเชื่อ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (3) ศึกษาแนวทางในการกำหนดสินเชื่อและคัดเลือกลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือประชากรที่ศึกษาคือลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,100 รายโดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คำนวณตามวิธีของ Yamane ซึ่งจะได้ประชากรสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 293 ราย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ซึ่งอยู่ในช่วง 3.68-5.00 ปัจจัยภายในเกี่ยวกับลูกหนี้โดยให้ความสำคัญรองลงมาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 ซึ่งอยู่ในช่วง 2.34-3.67 ปัจจัยภายในเกี่ยวกับธนาคารโดยให้ความสำคัญรองลงมาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 ซึ่งอยู่ในช่วง 2.34-3.67 (2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับปัจจัยภายนอกโดยให้ความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจซบเซาลดการลงทุนและการจ้างงานมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 สำหรับปัจจัยภายในเกี่ยวกับลูกหนี้ โดยให้ความสำคัญต่อปัญหาทางการเงินเนื่องจากมีหนี้สินภายนอกเพิ่มมากขึ้นมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3. 55 สำหรับปัจจัยภายในเกี่ยวกับธนาคารโดยให้ความสำคัญต่อบัญหาการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้มากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 (3) แนวทางในการกำหนดสินเชื่อควรมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้สัมพันธ์กับความสามารถในการชำระหนี้ และควรติดตามการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7038 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112656.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License