Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7071
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธีระพงษ์ สุพรรณคง, 2538--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-03T02:19:36Z-
dc.date.available2023-07-03T02:19:36Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7071-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทํางาน วัฒนธรรมองค์การ และการลาออก และโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ (2) เปรียบเทียบการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 611 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 242 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ อยู่ระดับมาก โดยด้านความมั่นคงในการทํางาน และด้านสภาพการทํางานอยู่ในระดับมากที่สุดด้านความสําเร็จในการทํางานของบุคคล ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบด้านนโยบายและการบริหารขององค์การ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านค่าตอบแทน อยู่ในระดับมาก และด้านการบังคับบัญชาและควบคุมดูแล อยู่ในระดับปานกลางระดับปัจจัยวัฒนธรรมองค์การแบบราชการที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุตำแหน่งงานที่ปฏิบัติ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ที่ได้รับที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารขององค์การส่งผลบวกต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พหุคูณ เท่ากับ 0.566 ในทางตรงกันข้ามปัจจัยด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านวัฒนธรรมองค์การแบบราชการส่งผลลบต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.395, 0.097 และ 0.129 ตามลำดับ โดยที่ตัวพยากรณ์ทั้ง 4 ตัว สามารถพยากรณ์การลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ร้อยละ 33.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectกรมส่งเสริมสหกรณ์--ข้าราชการ--การลาออกth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้ายของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting resignation and transfer of government Officers at Cooperative Promotion Departmenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study aims to: (1) study the level of employee motivation, organizational culture and resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department; (2) compare resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department, by individual factors; and (3) study employee motivation and organizational culture factors affecting resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department. This study is a survey research. The population employed in this study was 611 government officers at Cooperative Promotion Department. The sample size was calculated by the Taro Yamane’s formula and 242 samples were collected. The instruments used to collect data was a questionnaire. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, one-way ANOVA, correlation analysis and multiple regression analysis. The results showed that: (1) the level of employee motivation factors of government officers at Cooperative Promotion Department was at a high level. The level of organizational culture factors of government officers at Cooperative Promotion Department was at the highest level while the level of opinion on the resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department was also at the highest level. (2) Different individual factors; including age, position, working experiences and income per month; were correlated with the resignation and transfer at significant level of 0.05. (3) Policy and organizational management factor was positively correlated with the resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department. The coefficient of multiple regression was 0.566. On the contrary, commanding and controlling factors, the relationship among people factors and the organizational culture factors were negatively related to resignation and transfer of government officers at Cooperative Promotion Department. The coefficients of multiple regression were 0.395, 0.097 and 0.129 respectively. These factors can forecast 33.6 percent at the significant level of 0.05en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_165728.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons