Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพงส์ มีสมนัยth_TH
dc.contributor.authorงามใจ ทวีชนม์, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-03T06:47:33Z-
dc.date.available2023-07-03T06:47:33Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7113en_US
dc.description.abstractกรมราชทัณฑ์มีภารกิจหลัก คือ ควบคุมผู้ต้องราชทัณฑ์ไม่ให้หลบหนี และแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิด ให้สามารถกลับคืนสู่สังคมอย่างปกติสุข แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ รวมถึงการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ต้องเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบและวัฒนธรรมการทำงานใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานดังกล่าว ทำให้ข้าราชการของกรมราชทัณฑ์เกิดความเหนื่อยหน่ายและตรากตรำกับการทำงาน จึงส่งผลให้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ขาดความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับการดำเนินชีวิตในฐานะปัจเจกชน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน และระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน รวมทั้งแนวทางที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน (2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ในด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการบูรณาการด้านสังคม ด้านธรรมนูญในองค์กร ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ๆ และด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (3) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุการทำงาน เงินเดือนปัจจุบัน และหน่วยงานที่สังกัด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ จำนวน 240 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าน่าเชื่อถือ เท่ากับ .9434 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ข้าราชการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุการทำงาน เงินเดือนปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่แตกต่างกันในทางตรงกันข้าม ข้าราชการที่มีหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกรมราชทัณฑ์--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทยth_TH
dc.titleการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์th_TH
dc.title.alternativeStudy of quality of work life of the officers of the Department of Correctionsth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_113510.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons