กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7126
ชื่อเรื่อง: การศึกษากลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้สวนป่าเขากระยาง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The education tourism marketing strategy of Khaokrayang Plantation Phitsanulok / Education tourism marketing strategy of Khaokrayang Plantation Phitsanulok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชลีกร วัลลภศิริ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
การท่องเที่ยว--การตลาด
การท่องเที่ยว--ไทย--พิษณุโลก
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การตลาดเป้าหมาย (2) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการของสวนป่าเขากระยาง (3) ปัญหาและอุปสรรคของสวนป่าเขากระยาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาด้านการตลาดการท่องเที่ยวของสวนป่าเขากระยาง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของสวนป่าเขากระยางและจากหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษาผลการศึกษาพบว่า (1) การตลาดเป้าหมาย มีการแบ่งส่วนตลาดแบบผสมผสานโดยใช้ลักษณะโดยรวมของลูกค้า วัตถุประสงค์ของผู้เข้าพัก และตามพฤติกรรมการซื้อ กลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มครอบครัว กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มวัยทำงาน และประชุมสัมมนา การวางตำแหน่งทางการตลาด เป็นรีสอร์ทที่เน้นนักท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ มีอัตราค่าบริการปานกลาง เน้นสร้างความแตกต่างเป็นจุดดึงดูดการขาย (2) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ 1) สินค้าและบริการ มีที่พักสไตส์รีสอร์ท และกิจกรรมผจญภัยตามธรรมชาติ 2) ราคาค่าที่พักมีอัตราปานกลางและอัตราพิเศษ เช่น อัตราเหมาจ่าย 3) ช่องทางการจัดจำหน่าย มีการจัดทำเว็บไซต์ของสวนป่า 4) ส่งเสริมการตลาด มีการโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ การทำประชาสัมพันธ์รวมกับจังหวัด มีการส่งเสริมการขายโดยการให้ส่วนลดกับลูกค้า 5) บุคลากรต้องมีจิตใจรักการบริการ และมีความเชี่ยวชาญ 6) กระบวนการขั้นตอนการทำงานต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อลดขั้นตอนการทำงานและข้อผิดพลาด 7) ภาพลักษณ์ ต้องมีการปรับปรุงภาพลักษณ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทั้งด้านสถานที่และการบริการ และ 8) พลังขับเคลื่อนองค์กรจะต้องให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญกับด้านการให้บริการท่องเที่ยว (3) ปัญหาและอุปสรรคของสวนป่าเขากระยาง เกิดจากปัจจัยภายใน คือ นโยบายองค์กรที่มีระเบียบและข้อบังคับที่ชับซ้อน การไม่มีโครงสร้างรองรับด้านการท่องเที่ยว และปัจจัยภายนอก คือ ด้านเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัว และสถานการณ์ด้านการแช่งขันธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_118770.pdf4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons