Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7221
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา สถาวรวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | เกศินี โสภิณ, 2527- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-04T06:29:18Z | - |
dc.date.available | 2023-07-04T06:29:18Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7221 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งน็มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี (2) เปรียบเทียบกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมด้าน คุณสมบัติของนักบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน (3) เปรียบเทียบมาตรฐานการรายงานทาง การเงินระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนนำมาบังคับใช้ และ(4) ศึกษาข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อนักบัญชีไทย วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ วารสาร และบทความทางวิชาการ ข้อมูลจากเว็บไซต์รวมทั้งข้อกำหนด กฎระเบียบ และมาตรฐานการรายงานทาง การเงินที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใชัในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษาพบว่า (1) ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้กำหนดแนวทางความร่วมมือในการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีใน 2 องค์ประกอบคือ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการค้าบริการและข้อตกลงยอมรับร่วม โดยกำหนดคุณสมบัติหรือมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบวิชาชีพในประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ (2) กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติของนักบัญชีของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนใหญ่จะกำหนดหลักเกณฑ์การยอมรับด้านระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานการกำหนดคุณสมบัตินักบัญชีไม่แตกต่างกัน แต่ใน หลักเกณฑ์ด้านประสบการณ์ทำงานและการออกใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในประเทศจะแตกต่างกัน (3) ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศมาปรับใช้แตกต่างกัน ทั้งจำนวน ฉบับและวิธีการปรับใช้มาตรฐาน (4) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นักบัญชีไทยมีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ กฎหมายของประเทศไทย ได้กำหนดคุณสมบัติของนักบัญชีต่างชาติในการขอรับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพในประเทศจึงเป็นการจำกัดขอบเขตปฏิบัติงานของนักบัญชีต่างชาติในประเทศไทย แต่นักบัญชีไทยมีข้อเสียเปรียบที่สำคัญคือ การบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าน้อยกว่าบางประเทศในกลุ่มอาเซียน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | นักบัญชี--ไทย | th_TH |
dc.subject | นักบัญชี--การจ้างงาน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ | th_TH |
dc.title | ผลกระทบของนักบัญชีไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | th_TH |
dc.title.alternative | Impacts of Thai professional accountants approaching ASEAN Economic Community | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext137202.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License