Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิไล ชัยสมภาร, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-04T08:37:59Z-
dc.date.available2023-07-04T08:37:59Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7236-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงาน เทศบาลในจังหวัดลำพูน (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลใน เทศบาลเมืองและเทศบาลในจังหวัดลำพูน (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับ ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ ราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาและเพิ่มระดับผลสัมฤทธิ์ การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน จำนวน 39 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลเมืองจำนวน 1 แห่ง และเทศบาลตำบลจำนวน 38 แห่ง รวมจำนวนประชากร ทั้งหมด 879 คน กลุ่มตัวอย่างนำมาศึกษาครั้งนี้จำนวน 275 คน คำนวณโดยใชสู้ตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากบั .976 และสัมภาษณ์นายกเทศมนตรีจากเทศบาลที่มีผล การปฏิบัติงานโดดเด่น ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวเิ คราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน มีค่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (2) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงาน เทศบาลในเทศบาลเมืองและเทศบาลในจังหวัดลำพูน มีความแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับ ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปัจจัยด้านการบริหารเชิงยทธศาสตร์ ปัจจัย ด้าน สมรรถนะ ปัจจัยด้านการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์และปัจจัยด้านกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน (I AM READY) มีอิทธิพลต่อระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) การวิจัย ครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการนำนโยบายและแนวทางเพื่อเพิ่มระดับ ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูน โดยควรให้ความสำคัญกับการนำหลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ หลักสมรรถนะ หลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ รวมถึงกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงาน (I AM READY) มาเป็นกรอบในการปฏิบัติราชการ ของพนักงานเทศบาลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.90en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพนักงานเทศบาลth_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.subjectความสำเร็จทางธุรกิจth_TH
dc.titleผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลในจังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativePerformance result of municipatity officers in Lamphun Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to (1) study the level of performance result of Municipality Officers in Lamphun Province (2) compare the level of performance result of Municipality Officers between town municipality and municipal district (3) study factors influencing the performance result of Municipality Officers in Lamphun Province and (4) recommend appropriate approach to enhance the performance result of Municipality Officers in Lamphun Province. This study was a survey research. Population consisted of 879 municipality officers in Lamphun Province from total 39 municipality, from which samples of 275 were drawn. Instruments used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and multiple regression analysis. Research result revealed that (1) the level of performance result of Municipality Officers in Lamphun Province was higher than 80 percent with .05 level of significance, (2) level of performance result was different between town municipality and district municipality at .05 level of significance, (3) factors influencing the performance result of Municipality Officers in Lamphun Province were Good Governance, Strategic Management, Competency, Result - Based Management and paradigm, organization culture, value of work (I AM READY) at .05 level of significance , (4) recommendation were that organization should enforce implementation of policy and regulations should enhance the level of performance result of Municipality Officers in Lamphun Province. Moreover, Organization should emphasize on developing performance guidelines including Good Governance, strategic management, competency, Result - Based Management and paradigm, organization culture, value of work (I AM READY) which would lead to increasing in performance result of the Municipality officers as a wholeen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
151539.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons