Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7308
Title: ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสิ่งทอของบริษัทฟีนาเท็กซ์ จำกัด
Other Titles: The competitiveness of the export garment industry : a case of Fenatex Company Limited / Competitiveness of the export garment industry : a case of Fenatex Company Limited
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัค กงถัน, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทฟีนาเท็กซ์ จำกัด
ความสามารถในการแข่งขัน
สิ่งทอ--การส่งออก.--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสามารถทางการแข่งขันของ บริษัท ฟีนาเท็กซ์ จำกัด (2) ศึกษาแนวคิดของพนักงานที่มีต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบัน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่สังกัดกับฝ่ายสำนักงานใหญ่ จำนวน 112 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบทดสอบแบบที แบบทดสอบแบบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียรสัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในปัจจุบันพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของกิจการโดยรวม คือ บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.48) โดยปัจจัยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกลยุทธ์ทางการแข่งขัน (ค่าเฉลี่ย = 3.66) และปัจจัยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศการทำงาน/ผลตอบแทน/แรงจูงใจ (ค่าเฉลี่ย = 3.34) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลในด้าน เพศ ระดับ การศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสามารถในการแข่งขันโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลในด้าน อายุ ตำแหน่งงาน และอายุงานในปัจจุบัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสามารถในการแข่งขันโดยรวม แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7308
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_126009.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons