Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7346
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: People's participation in local administration of the Maeku Municipality, Maesod District, Tak Province / People's participation in local administration of the Maeku Municipality, Maesod District, Tak Province
Authors: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีศักดิ์ เติมทรัพย์ทวี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลแม่กุ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การปกครองท้องถิ่น--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 332 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกกรองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีส่วนร่วมสูงสุดในด้านการรับผลประโยชน์ รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล ตามลำดับ (2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนเสนอให้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการวางแผนเป็นสำดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านการรับผลประโยชน์การติดตามประเมินผล และการปฏิบัติการจากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า เทศบาลควรจัดให้มีแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ และความจำเป็นของการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและสร้างความเจริญของท้องถิ่นด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งอาจพิจารณาจัดให้มีการสร้างเสริมการมีส่วนร่วม ด้วยการให้ข้อมูล ข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นแก่ประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ เว็บไซด์ หนังสือ วารสารฯลฯ ตลอดจนการจัดให้มีมาตรการการรับเรื่องร้องทุกข์ อันเนื่องมาจากการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพิจารณาให้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นหรือความศรัทธาในการปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7346
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128460.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons