Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7427
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีธนา บุญญศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบัญญัติ มาศงามเมือง, 2503-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-06T08:47:31Z-
dc.date.available2023-07-06T08:47:31Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7427en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (I) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดหนองคาย และ (2) เปรียบเทียบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดหนองคาย จำแนกตามประเภทและลักษณะของโรงงานอุตสาหกรรมประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดหนองคายที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 51 แห่ง โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 36 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70.59 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยภายนอกมีผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีผลมากที่สุดอยู่ในระดับมากคือ ด้านการแข่งขัน รองลงมาคือ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมายและการเมือง และด้านเศรษฐกิจ ส่วนด้านที่มีผลน้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านสังคม ปัจจัยภายในมีผลผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีผลมากที่สุดอยู่ในระดับมากคือด้านวัฒนธรรมองค์การ รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านทรัพยากรการบริหาร ส่วนด้านที่มีผลน้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านนโยบายองค์การ สำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในภาพรวมและรายกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุดคือ การบริหารค่ตอบแทน รองลงมาคือความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน การประเมินผลกรปฏิบัติงาน การฝึกอบรมและพัฒนา และการวางแผน การสรรหาและการคัดเลือก อย่างไรก็ตามปัจจัยภายในเท่านั้นที่สามารถทำนายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดหนองกายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในสามารถร่วมกันทำนายการส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ร้อยละ38.00 และ (2) โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในประเภทอุตสาหกรรมอื่น อาทิ ผลิตภาชนะกระดาษและเทียนไข มีรูปแบบการประกอบการแบบสหกรณ์จำกัด มีระยะเวลาในการประกอบการอุตสาหกรรมตั้งแต่ 6 - 10 ปี มีจำนวนเงินทุนจดทะเบียนระหว่าง . - 100 ถ้านบาท มีจำนวนพนักงาน 5 1 - 100 คน และมีขนาดของเครื่องจักรไม่เกิน 100 แรงม้า มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับมากกว่าโรงงานอุตสาหกรรมอื่นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectทรัพยากรมนุษย์--การจัดการth_TH
dc.subjectโรงงานอุตสาหกรรมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดหนองคายth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting human resource management of industrial factories in Nongkhai provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_122359.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons