Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิเชียร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประวัติ สวัสดิสรรพ์, 2505-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-10T08:49:03Z-
dc.date.available2023-07-10T08:49:03Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7499en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเปียโนของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่ โรงเรียนดนตรีสยามกลการฯ (2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อเปียโนของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการฯ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับพฤติกรรมในการซื้อเปียโนของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการฯ การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ (สถาบันดนตรียามาฮ่า) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบพบโดยบังเอิญจากผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 41 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไค-สแควร์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 50,00 1-100,000 บาท ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเปียโนและมีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยอื่นๆทางด้านสังคมและด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเปียโนโดยรวมมีความเห็นว่าการเรียนเบียโนมีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านสมองและอารมณ์ (2) พฤติกรรมการซื้อเปียโนของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ ส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อเปียโนไม้ประเภท Upright ให้บุตรหรือธิดาเรียนในช่วงเริ่มต้น ในช่วงระดับราคา100,001-150,000 บาท ซื้อเปียโนด้วยเงินผ่อน ตัดสินใจซื้อเปีโนทันทีที่ส่งบุตรหรือธิดาเข้าเรียน ซื้อจากโรงเรียน/สถาบันสอนคนตรี แรงจูงใจในการซื้อเปียโนเพื่อให้บุตรหรือธิดาไว้ฝึกซ้อมหลังจากที่เรียนเปียโนตัดสินใจซื้อกันเองภายในครอบครัว โดยปรึกษาจากครูผู้สอนเปียโน มีระยะเวลาในการซื้อเปียโนไม่แน่นอน มีวิธีในการเลือกซื้อเปียโนจากสื่อ ณ จุดขาย โดยพิจารณาจากการส่งเสริมการขาย (3) ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆพบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเปียโน ส่วนปัจจัยการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการซื้อเปียโน ปัจจัยอื่นๆทางด้านสังคมและด้านจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเปียโนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรงเรียนดนตรีสยามกลการ--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--การตัดสินใจth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.subjectการซื้อสินค้าth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเปียโนของผู้ปกครองที่มีบุตรหรือธิดาเรียนเปียโนที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ (สถาบันดนตรียามาฮ่า) ในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the piano buying behavior of parents whose children learning piano at Siam Kolkarn Music School (Yamaha Music Academy) in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_119875.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons