Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/749
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เยาวภา ปิ่นทุพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ฐวิช แสงแก้ว, 2508- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-18T08:09:41Z | - |
dc.date.available | 2022-08-18T08:09:41Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/749 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 | th_TH |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน (1) ระดับสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข (2) ระดับโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยใช้ไปแบบการวิจัยเชิงสำรวจในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 243 คน เครื่องมือการวิจัยถูกเรียบเรียงและดัดแปลงมาจาก Saskatchewan Health 2001 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ส่วน ซึ่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินตนเองตามสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข และโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 วิชาการทางสาธารณสุขพื้นฐาน ด้านที่ 2 การวิเคราะห์และการประเมิน ด้านที่ 3 การจัดทำนโยบายและวางแผนงานโครงการ ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานในชุมชน ด้านที่ 5 การสื่อสาร ด้านที่ 6 ความเข้าใจวัฒนธรรม ด้านที่ 7 ภาวะผู้นำและการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านที่ 8 การวางแผนการเงินและการจัดการ แบบสอบถามทั้งสองส่วนมีค่าความเที่ยงเท่ากันเท่ากับ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผ่านทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและได้แบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 77.77 การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบไคว์-สแคว์ และสัมประสิทธิการทำนายพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีสมรรถนะหลักทางสาธารณสุขทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับยอมรับได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะหลักด้านที่ 4, 5 และ 6 อยู่ในระดับยอมรับได้ สัดส่วนในด้านอื่น ๆ มีตํ่ากว่า (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 2, 3 และ 8 อยู่ในระดับที่ต้องการพัฒนา สัดส่วนในด้านอื่น ๆ มีตํ่ากว่า แต่ด้านที่ 5 อยู่ในระดับยอมรับได้ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงมีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 1, 2, 3, 7 และ 8 อยู่ในระดับที่ต้องการพัฒนา แต่ด้านที่ 4,5 และ 6 อยู่ในระดับยอมรับได้ (3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพศชายและหญิงมีระดับความสามารถตามสมรรถนะหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7 และ 8 โดยสัดส่วนเพศชายที่มีความสามารถในระดับสามารถทำได้ด้วยตนเองมีสูงกว่าเพศหญิง ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายและหญิงมีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 8 ด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากับสมรรถนะหลักด้านอื่น ๆ ยกเว้นด้านที่ 5 และ 6 อายุมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสมรรถนะหลักด้านที่ 2, 6 และกับโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 6 ระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสมรรถนะหลักด้านที่ 4 และ 8 สมรรถนะหลักทางสาธารณสุขแต่ละด้านต่างเป็นตัวทำนายโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านนั้นได้ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบจากงานวิจัยบ่งบอกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการงานสาธารณสุข ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงส่วนใหญ่มีความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติงานในชุมชน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | เจ้าหน้าที่สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ภาระงาน | th_TH |
dc.subject | สมรรถภาพในการทำงาน | th_TH |
dc.title | สมรรถนะหลักทางสาธารณสุขและโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จังหวัดอุทัยธานี | th_TH |
dc.title.alternative | Core public health competencies and their performance opportunity of health workers in primary care unit Uthai Thani Province | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to evaluate: 1) level of core public health competencies; 2) level of performance opportunity based on core public health competencies; and 3) relationship between the studied variables of health workers. This survey research was conducted in all 243 health workers working in primary care unit (PCU) in Uthai Thani Province. The instrument employed in this study was a two-part rating scale questionnaire, which was reviewed and adapted from Saskatchewan Health 2001. It allowed the health workers to self- evaluate for 8 aspects of the core public health competencies, and the performance opportunity based on core public health competencies. These aspects included: 1) fundamental public health knowledge; 2) analysis and evaluation; 3) skills of policy formulation and project planning; 4) community performance; 5) communication; 6) cultural understanding; 7) leadership and systematic thinking; and 8) financial planning and management. Both parts of the questionnaire had equal reliability values of 0.98. Data were collected via the District Public Health Office, with a 77.77% of questionnaire returning rate. Data were analyzed as descriptive statistics, Chi-square test and predictive co-efficient at the statistically significant level of .05. The findings of this research were that: 1) most health workers had 8 core public health competencies at the acceptable level. Most of the female health workers had core public health with the aspect 4, 5, and 6 at the acceptable level whereas the other aspects were at lower levels; 2) most of the male health workers had performance opportunity based on core public health competencies in the aspect 2, 3, and 8 at the need-for-development level whereas the other aspects were at lower levels but the aspect 5, which was at the acceptable level. Most of the female health workers had performance opportunity based on core public health competencies in the aspect 1,2,3, 7, and 8 at the need-for-development level whereas the aspect 4, 5, and 6 were at the acceptable level; and 3) the male and female health workers had statistically significantly different levels of core public health competencies with the aspect 1, 2,4, 5, 6, 7, and 8 by which proportion of male health workers had higher competency level of self-performance than those of the female health workers. However, both male and female health workers were not statistically significantly different on the performance opportunity based on 8 aspects of core public health competencies. Sex variable had a low level of positive relationship with core public health competencies but the aspect 5 and 6. Age variable had statistically significant at a low level of negative relationship with core public heath competencies aspect 2 and 6, and the performance opportunity based on core public heath aspect 6. Performance duration variable had statistically significant at a low level of positive relationship with core public health competencies aspect 4 and 8. Each aspect of core public health competencies could be used as predictors of performance opportunity based on core public health at the statistically significantly low level. The research findings indicated that most male heath workers had potential and opportunity in health administrative performance while female ones had potential and opportunity in community performance | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
108773.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License