Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7537
Title: ปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของบุคลากร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลลำปาง
Other Titles: Factors affecting employee performance development : a case of Lampang Hospital
Authors: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนิดา ทักษิณาพิมุข, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลลำปาง--การทำงาน
การทำงาน--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและศึกษาระดับของปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลลำปางสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 101 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ ผลการศึกษา พบข้อค้นพบดังนี้ 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ได้มีการปฏิบัติจริงในโรงพยาบาลลำปาง โดยภาพรวมในด้านต่างๆ 6 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยการจูงใจ ความสามารถ การให้โอกาส การให้อำนาจ การมีส่วนร่วมและการตระหนักในคุณค่าของมนุษย์ พบว่า องค์กรมีการดำเนินงานปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกด้านอยู่ในระดับสูง ( X ̅ = 3.50) และพบว่าองค์กรมีการดำเนินงานปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมดีที่สุด ( X ̅ = 3.81)และมีการดำเนินงานด้านปัจจัยการจูงใจต่ำที่สุด ( X ̅ = 3.28) 2) ผลลการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวม ซึ่งประกอบด้วยด้านผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ผลการปฏิบัติงานด้านคุณภาพ ผลการปฏิบัติงานด้านต้นทุน ด้านนวัตกรรม และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3) การทดสอบสมมติฐานข้อมูลส่วนบุคคลกับปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรพบว่าเพศ อายุ อายุงาน ระดับการศึกษา ระดับซี และรายได้ มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7537
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_122111.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons