Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7539
Title: ทางเลือกเพื่อกระจายการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินของลูกค้าเงินฝากธนาคารไทยธนาคาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายหลังพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้
Other Titles: Alternatives for investment diversification in financial products of Bank Thai's depositor customer in Prachaupkirikhun Province after enforcement of the deposit protection institution act
Authors: ยุวดี ไชยศิริ
พรทิพา โตวิชัย, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารไทยธนาคาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
การลงทุน--การเงิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักการของ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 2) การรับรู้ของผู้ฝากเงินเกี่ยวกับข้อมูลของ พ.ร.บ. 3)ผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 3 ประเภท ได้แก่ กองทุนรวมการประกันชีวิต และตั๋วแลกเงิน พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อแตกต่างของแต่ละผลิตภัณฑ์กับเงินฝาก 4) การรับรู้ของผู้ฝากเงินเกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าว 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการลงทุน 6) รูปแบบการลงทุนที่ผู้ฝากเงินต้องการในภาวะที่ผลตอบแทน ความเสี่ยง ระยะเวลาการลงทุน สภาพคล่องแตกต่างกันและหาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์กับรูปแบบการลงทุนที่ต้องการวิธีการดำเนินการศึกษาเริ่มทำการเก็บข้อมูลทุติภูมิเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เละผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการออกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ฝากเงินของธนาคาร ไทยธนาคาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มียอดเงินฝากรวมทุกบัญชีตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำนวน 100 คน แล้วนำมาประมวลผล ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานไคล์สแควร์ แล้วนำเสนอในรูปตารางและสรุปผลข้อมูลผลการศึกษาพบว่า 1) หลักการของ พ.ร.บ. จัดตั้งขึ้นเพื่อจ่ายเงินคืนแก่ผู้ฝากเงินที่เป็นเงินฝากภายในประเทศและเป็นสกุลเงินบาท โดยไม่ต้องรอขั้นตอนการชำระบัญชีกรณีสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ การกำหนดวงเงินคุ้มครอง ปีที่ 1-3 เต็มจำนวน ปีที่ 4 จำนวน 50 ล้านบาท และปีที่ 5 เป็นต้นไป 1 ล้านบาทต่อคนต่อสถาบันการเงิน 2) ผู้ฝากเงินรับทราบว่ามีการบังคับใช้ พ.ร.บ. ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 61 จะไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องวงเงินและหลักเกณฑ์ที่ได้รับความคุ้มครอง 3) การเปรียบเทียบผลตอบแทน กองทุนรวมและตั๋วแลกเงินจะมากกว่าเงินฝากร้อยละ 0.25-0.50 ยกเว้นการประกันชีวิตที่น้อยกว่าเงินฝากแต่ได้รับความคุ้มครองชีวิต 4) การรับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีค่าเฉลี่ย 7.45 คะแนนจากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ข้อมูลที่รับรู้มากที่สุดได้แก่ กองทุนรวมการประกันชีวิต และตั๋วแลกเงิน ตามลำดับ 5) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนมากที่สุดเป็นเรื่องอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ รองลงมาเป็นความเสี่ยงของแต่ละทางเลือก ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจมาจากการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ๑ รูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากภายในระยะเวล1 3 เดือน ต้องการความเสี่ยงต่ำจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าตราสารหนี้หรือตราสารทุน เป้าหมายการเก็บออมเพื่อใช้หลังเกษียณระยะเวลา 11-15 ปี การลงทุนที่จะต้องใช้เงินก่อนครบกำหนดต้องการแบบที่ใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้ รูปแบบการลงทุนมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางประชากรศาตร์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 87 มีอายุ 41 ปีขึ้นไป โดยเพศชายจะเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและระยะเวลาเก็บออมระหว่าง 6-20 ปี ซึ่งนานกว่าเพศหญิง กลุ่มที่มีอายุน้อยจะเลือกระยะเวลาเก็บ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7539
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128302.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons