Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7563
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำโรงงานบริษัทเอเซียแปซิฟิค อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Working motivation of employees at Asia Pacific Agrochemical Company Limited Factory in Ratchaburi Province
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภักดิ์พงษ์ เที่ยงธรรม, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทเอเซียแปซิฟิคอโกรเคมีคอล
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำโรงงานบริษัท เอเซียแปซิฟิค อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัดราชบุรี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำโรงงานบริษัท เอเซียแปซิฟิด อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัดราชบุรี (3) เสนอแนะแนวทางในการ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำโรงงานบริษัท เอเซียแปซิฟิค อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัคราชบุรีเพื่อไปสู่การนำความสามารถของลูกจ้างออกมาใช้ได้อย่างมี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยลูกจ้างประจำโรงงานบริษัท เอเซียแปซิฟิค อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัดราชบุรี จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่าเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 8 ด้าน ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน 2) การพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองและความก้าวหน้า 3 ค่าตอบแทนสวัสดิการและผลประโยชน์ 4) ความมั่นคงในหน้าที่การงาน 5) การยอมรับ ยกย่อง ชมเชย 6) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 7) เป้าหมาย และนโยบายของบริษัท 8) บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทอสอบค่าที วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำโรงงานบริษัท เอเซียแปซิฟิค อโกรเคมีคอล จำกัด จังหวัดราชบุรี มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับแรงจูงใจที่มีระดับปานกลาง ได้แก่ สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน การพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองและความก้าวหน้า ค่าตอบแทนสวัสดิการและผลประโยชน์ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การยอมรับยกย่องชมเชย เป้าหมายและนโยบายของบริษัท บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ (2) ลูกจ้างประจำโรงงาน มีลักษณะบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่และระดับรายได้ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ควรแนะนำผู้บริหารปรับปรุงคือ ด้านค่าตอบแทนสวัสดิการและผลประโยชน์ในเรื่องของค่าข้างที่ได้รับเพียงพอกับค่าครองชีพในปัจจุบันซึ่งมีระดับแรงจูงใจที่ต่ำ (X ̅ = 2.74) ส่วนระดับแรงจูงใจที่อยู่ในเกณฑ์มาก ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (X ̅ =3.45) ปัจจัยในด้านนี้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ลูกจ้างประจำโรงงานเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้กับทางบริษัทควรส่งเสริมปัจจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7563
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_127595.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons