Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7638
Title: ระบบจัดตารางกิจนิมนต์สำหรับพระภิกษุผู้ชำนาญในศาสนพิธี: กรณีศึกษา วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
Other Titles: Invitation scheduling system for ritual monk specialists: case study - Wat Rai Khing Royal Temple
Authors: วรัญญา ปุณณวัฒน์
พระไพรินทร์ อ่อนโพธิ์แก้ว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
สงฆ์
การพัฒนาเว็บไซต์
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดตารางกิจนิมนต์สำหรับพระภิกษุผู้ชำนาญในศาสนพิธี: กรณีศึกษา วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดตารางกิจนิมนต์สำหรับพระภิกษุผู้ชำนาญในศาสนพิธี: กรณีศึกษา วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ระบบจัดตารางกิจนิมนต์สำหรับพระภิกษุผู้ชำนาญในศาสนพิธี: กรณีศึกษา วัดไร่ขิง พระอารามหลวง พัฒนาเป็นเว็บแอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยใช้ภายา PHP สำหรับการพัฒนาและใช้ MariaDB สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูล จากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยใช้วิธีกล่องดำ การประเมินผลประสิทธิภาพของระบบ 5 ด้าน โดยผู้ใช้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ดูแลระบบและกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ด้านความสามารถของระบบสารสนเทศตรงต่อความต้องการต่อผู้ใช้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.36 และ 3.63 ตามลำดับ ด้านความถูกต้องของการทำงานของระบบสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 และ 3.50 ตามลำดับ ด้านความง่ายในการใช้งานระบบสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.38 และ 3.51 ตามลำดับ ด้านประสิทธิภาพของระบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.56 และ 3.72 ตามลำดับ สำหรับด้านความปลอดภัยของระบบ ประเมินโดยผู้ดูแลระบบ มีค่าฉลี่ออยู่ที่ 48 ผลการประเป็นประสิทธิภาพโลยรวมของผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานทั่วไป อยู่ในระดับมาก (5 = 4.45,59 ตามลำลับ) สรุปได้ว่าระบบบจัดตารางกิจนิมนต์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการคัดเลือกพระภิกษุผู้ชำนาญในศาสนพิธี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7638
Appears in Collections:Science Tech - Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons