Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7750
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิริลักษณ์ กำแพง, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-14T04:30:31Z-
dc.date.available2023-07-14T04:30:31Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7750-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าประดับยนต์ของผู้บริโภค อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ประดับยนต์ของผู้บริโภค อำ เภอเถิน จังหวัดลำปาง (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ใช้ตัดสินใจซื้อสินค้า ประดับยนต์ของผู้บริโภคจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (4) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อสินค้าประดับยนต์ในร้าน ทองประดับยนต์ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2556 เท่านั้น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานการทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบไคสแควร์และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าประดับยนต์ โดยภาพรวม คือ ผู้บริโภคมีการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อด้านราคา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจมากที่สุด คือ อินเตอร์เน็ต ร้านที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการมากที่สุดคือ ทองประดับยนต์ ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อมากที่สุดคือ เพื่อนหรือ เพื่อนร่วมงาน สินค้าประดับยนต์ที่เลือกซื้อมากที่สุด คืออุปกรณ์ประดับยนต์อื่นๆ ส่วนมากจะซื้อที่ปริมาณ 2-3 ชิ้น และจะซื้อทุก 6 เดือน โดยมีค่าใช้จ่ายอยูที่ 1,001 – 5,000 บาท โดยมีการชำระค่าใช้จ่ายเป็นเงินสด เป็นส่วนมาก ซึ่งก่อนตัดสินใจซื้อส่วนมากมีการวางแผน ศึกษาและเปรียบเทียบก่อนเสมอ ลักษณะการเลือกยี่ห้อส่วนมากมียี่ห้ออยู่ในใจอยู่แล้ว ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคส่วนมากจะชะลอการซื้อ สิ่งที่ต้องการหลังการซื้อสินค้า ส่วนมากคือ สามารถเปลี่ยนแปลงสินค้าได้หากเกิดปัญหา และมีความพึงพอใจในการเข้าซื้อสินค้าที่ร้านทอง ประดับยนต์ แหล่งผลิตที่เป็นที่ต้องการส่วนมากคือ ผลิตในประเทศไทย (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยูในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านราคา อยูในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยูในระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ตัดสินใจซื้อสินค้าประดับยนต์ของผู้บริโภคจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านระดับการศึกษา (4) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กบลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และตำบลที่พักอาศัยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--การตัดสินใจth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--การตลาด.--ไทยth_TH
dc.subjectร้านประดับยนต์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประดับยนต์ : กรณีศึกษา ร้านทองประดับยนต์อำเภอเถิน จังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeConsumer behavior and marketing mix factors influencing purchasing decision of car accessories : a case study of Tongpradubyon in Thoen District, Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study aimed (1) to study consumers’ purchasing behavior of car accessories in Thoen district, Lampang province; (2) to study marketing mix factors influencing on consumers purchasing decision of car accessories in Thoen district, Lampang province; (3) to study marketing mix factors using for buying decision of car accessories classified by personal characteristics; and (4) to examine the relationship between consumer behavior and personal characteristics. The study was a survey research. The population was 400 consumers buying car accessories at Tongpradubyon in Thoen district, Lampang province between 2012 -2013. Questionnaire was used for data collection. The data was analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-Test, F-test, chi-square and Least Significance Difference (LSD). The results showed that (1) overall customers would search information about price before making decision. Internet was the most popular information source. Tongpradubyon was selected by most customers. Friends or colleagues were influential in buying decision. The customers would buy car accessories every 6 months around 2-3 pieces per purchase. Most of customers spent 1,001-5,000 THB and paid by cash. The customers would plan and compare before making decision. They already had a brand in mind and if the price increased the customers would delay buying the products. They preferred to change defected products after sales and satisfied with Tongpradubyon and also required the products which made in Thailand; (2) product, place and price were the most influential factors followed by promotion factor; (3) educational level was the personal characteristic influencing the buying decision at 0.05 level statistically significant; and (4) personal characteristics related to consumer behavior were gender, age, educational level, marital status and residential districten_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
133789.pdf11.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons