Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7758
Title: ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Marketing mix affecting purchasing behavior of car audio of customer in Ayutthaya Province Area
Authors: ยูทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุดา อิ่มสวัสดิ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: เครื่องเสียง
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อหาลักษณะทางประชากรที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตชังหวัด พระนครศรีอยุธยา ในการวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่ม เจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จดทะเบียนรถยนต์ในปี 2550 และซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์ในเขต จังหวัดพระนครศรีอยูธยา โดยกำหนดขนาดตัวอย่าง 401 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวมรวมข้อมูล ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความลี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เช่น ทีเทส เอฟเทส ไคสแควร์เทส ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 266 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.3 มีอายุระหว่าง 20-30ปี จำนวน 296 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.8 สถานภาพ โสด จำนวน 276 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.8 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 320 ราย คิดเป็นร้อยละ 79.8 การสึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 268 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.8 ระดับรายได้ 10,001-20,000 บาท จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.6 ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเครื่องเสียงติดรถยนต์มากที่สุดคือผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือการส่งเสริมการตลาด ช่องทางการ จำหน่าย และราคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61, 3.20, 3.07,2.93 ตามลำดับ ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันด้านอายุ อาชีพ รายได้ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่าย การ ส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ด้านสถานภาพให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริม การตลาดแตกต่างกันส่วนช่องทางการจำหน่ายไม่ต่างกัน ด้านการศึกษาให้ความสำคัญต่อราคา ช่องทางการจำหน่ายแตกต่างกันส่วนผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดไม่ต่างกัน ด้านเพศให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันส่วนผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่ายไม่ต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7758
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124686.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons