Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7763
Title: การศึกษาต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: A study of economic cost due to students' retirement, Ayutthaya Vocational College
Authors: ดลพร บุญพารอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑารัตน์ พรหมจุ้ย, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การออกกลางคันในโรงเรียนอาชีวศึกษา--ต้นทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)คำนวณต้นทุนการลงทุนของสถานศึกษาที่เกิดจากการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา (2) คำนวณต้นทุนส่วนบุคคลที่เกิดจากการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา (3) คำนวณต้นทุนทางเศรษฐกิจของนักศึกษาที่พ้นสภาพแยกเป็นสาขาวิชา (4) ศึกษาแนวทางใน การตรวจสอบค่าใช้จ่ายและการวางแผนการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2550 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัย อาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยาทุกระดับชั้นและทุกสาขาวิชา โดยใช้วิธีสุ่มจากประชากรแบบแบ่งชั้น เป็นระบบ จำนวน 325 ตัวอย่าง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อศึกษาต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา วิเคราะห์โดยใช้ต้นทุน ถัวเฉลี่ยและต้นทุนรวม ผลการศึกษาพบว่า (1) ต้นทุนทางตรงของสถานศึกษา รวมเท่ากับ 4,578,329.34 บาท ต้นทุนทางอ้อมของสถานศึกษารวมเท่ากับ 34,337.47 บาท(2) ต้นทุนทางตรงส่วนบุคคลรวม เท่ากับ 12,953,504.54 บาท ต้นทุนทางอ้อมส่วนบุคคลรวม เท่ากับ 12,571,464.16 บาท (3) ต้นทุนทางเศรษฐกิจของสาขาศิลปกรรม รวมเท่ากับ 770,426.60 บาท ต้นทุนทางเศรษฐกิจของสาขา พณิชยกรรม รวมเท่ากับ 19,181,815.67 บาท ต้นทุนทางเศรษฐกิจสาขาคหกรรม รวมเท่ากับ 3,841,888.36 บาท ต้นทุนทางเศรษฐกิจสาขาอุตสาทกรรมการท่องเที่ยว รวมเท่ากับ 6,343,504.54 บาท (4) ผลจากการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปี การศึกษา 2550 จำนวน 254 คน ต้นทุนทางเศรษฐกิจที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 30,137,635.51 บาท ข้อเสนอแนะ (1) สถานศึกษาใช้ข้อมูลจากต้นทุนที่ต้องสูญเสียไปเพื่อการจัดการศึกษา สำหรับนักศึกษาที่พ้นสภาพ (2) สถานศึกษาเสนอแนะผู้ปกครองให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของต้นทุนส่วนบุคคลที่สูญเสียไปในด้านการศึกษาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือ เมื่อนักศึกษาออกกลางคัน (3) สถานศึกษาทราบต้นทุนท้นสภาพของนักศึกษาในทุกสาขาวิชา (4) สถานศึกษามีแนวทางในการวางแผนการจัดการศึกษาได้อย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7763
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124732.pdfเอกสารฉบับเต็ม4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons