Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7771
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
Other Titles: Factors affecting the organization commitment of personnel of Chevron Thailand Exploration and Production, Ltd.
Authors: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรัสย์ พุฒิจรัสพงศ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ความผูกพันต่อองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอีทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานนอกฝั่ง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (2) เปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การ (3) เสนอแนะปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและ ผลิต จำกัด จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำร้อยละ ค่าเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีทดสอบของเชฟเฟ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยจำแนกเป็นปัจจัยโดยรวม เท่ากับ 3.86 ปัจจัย จูงใจ เท่ากับ 4.02 และปัจจัยอนามัย เท่ากับ 3.71 ซึ่งหมายความว่าระดับความผูกพันต่อองค์การอยู่ ในระดับสูง ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อเปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ ผูกพันองค์การ พบว่า ปัจจัยจูงใจมีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การสูงสุด คือ 4.02 พนักงานบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันใน 6 รายการ ได้แก่ อายู สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือน และอายูงาน มีระดับความ ผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ .01 ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การในการปฏิบัติงาน คือ ปัจจัยอนามัย ในข้อ(40)การปรับเพิ่มเงินเดือนไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งทางฝ่ายบริหารควรที่จะพิจารณาให้สอดคล้องเพื่อความเหมาะสมต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7771
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
127466.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons