Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรำแพน เครือโต, 2515--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-17T07:37:11Z-
dc.date.available2023-07-17T07:37:11Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7873-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ในด้านการเงิน ด้านประชาชนผู้รับบริการ ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้ และการพัฒนา (2) ศึกษาปัญหาในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากร จำนวน 6,798 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 411 คน คือ คณะผู้บริหารและพนักงานองค์การ บริหารส่วนตำบลแม่ลอย จำนวน 33 คน และประชาชนผู้รับบริการในเขตพื้นที่เล็กองค์การบริหารส่วนตำบล แม่ลอย จำนวน 378 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการผลการดำเนินงาน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์คณะผู้บริหารและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 คน พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย จำนวน 29 คน รวมเป็น 33 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากประชาชนผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เปรียบเทียบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า (1) ผลการดำเนินงานด้านการเงิน มีรายรับมากกว่ารายจ่ายทุกปีงบประมาณ ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2562 ด้านประชาชนผู้รับบริการ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการภายใน มีเกณฑ์การดำเนินงาน อยู่ในระดับดี ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา พบว่า มีการพัฒนาบุคลากรอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง (2) ปัญหาการดำเนินงานที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านการเงิน การจัดเก็บรายได้ ยังมีข้อจำกัดอยู่หลาย ๆ ด้าน ปัญหาด้านประชาชนผู้รับบริการ ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ปัญหาด้านกระบวนการภายใน คือ ปัญหาบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงกับตำแหน่งที่รับผิดชอบโดยตรง ปัญหาด้านการเรียนรู้และการพัฒนา บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว แต่ยังขาดการติดตาม ประเมินผลหลังการฝึกอบรม (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ด้านการเงิน ควรหาแนวทางในการจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนา ด้านประชาชนผู้รับบริการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล ด้านกระบวนการภายใน ควรมีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีกระบวนการขั้นตอนตลอดจนวิธีการเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ควรมีการรายงาน ติดตามประเมินผลการฝึกอบรม เพื่อให้มีการนำประโยชน์มาใช้กับภารกิจงานที่รับผิดชอบth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย--การประเมินth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายth_TH
dc.title.alternativeAn evaluation of Mae Loi Sub-district Administrative Organization, Thoeng District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe aims of this study were: (1) to evaluate the performance of Mae Loi sub-district administrative organization, Thoeng district, Chiang Rai province, in the following aspects: finance, public service recipients, internal process and learning and development, (2) to study administrative problems of Mae Loi sub-district administrative organization, Thoeng district, Chiang Rai province (3) to recommend appropriate approaches to solve operational problems of Mae Loi sub-district administrative organization, Thoeng district, Chiang Rai province. This study was a mixed-method research. The population was 6,798 people. The sample group consisted of 411 people, namely 33 management and organizational staffs of The Mae Loi Sub-district Administrative Organization comprises people and 378 people living in the area of Mae Loi Sub-district Administrative Organization. The sample was selected by the accidental sampling method. The tools used in the study consisted of performance evaluation form, questionnaire and interview form. The key informants for the interviews were management team and staffs of Mae Loi sub-district administrative organization including the president, vice president, 4 secretaries and 29 employees, totaling 33 people. Qualitative data were processed by content analysis and comparative analysis. For quantitative data analysis, the statistics were the average, percentage and standard deviation. The study revealed as followings: (1) for financial performance, the Mae Loi sub-district administrative organization had more revenue than expenses in every fiscal year from fiscal year 2016-2019. People satisfaction with the operation of the sub-district administration organization was at a good level. For internal process, the performance was at a good level. In terms of learning and development, it was found that human development was in need of improvement. (2) Major operational problems are financial problems, revenue collection. There are still many limitations. Moreover, there was a lack of public participation in various operations. The internal process problem is the problem of personnel, who perform their duties that were not in their job descriptions. For learning and development problems, personnel have been trained but there was still a lack of after training tracking. (3) Suggestions for solving financial problems were that there should be an improvement in revenue collection in order to have a sufficient budget for development. In terms of public service recipients, it is encourage people to participate in the activities of the sub-district administrative organization. For internal process, there should be clear operational plans, procedures, and methods in order to perform the works properly. In terms of learning and development, there should be a tracking and evaluation after training in order that the human resource development would be fully utilizeden_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons