Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/789
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิศิษฏ์ ประสิทธิศิริกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภาพร อยู่แดง, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-20T03:33:13Z-
dc.date.available2022-08-20T03:33:13Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/789-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องของหน่วยไตเทียม สถาบัน บำราศนราดูร 2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการวิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน ผู้ป่วย 3 คน และผู้ดูแล 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิเคราะห์สภาพการณ์ฯ 4 คน ผู้บริหาร 3 คน ผู้ปฎิบัติ 2 คน และผู้เชี่ยวชาญ 1 คน เครื่องมือการวิจัย มี 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาสภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วย พัฒนาขึ้นจากแนวคิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังของวากเนอร์และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือชุดแรกผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง พบประเด็นปัญหา 4 ประการ ได้แก่ (1) นโยบายและโครงสร้างการให้บริการไม่ชัดเจน (2) การออกแบบและขั้นตอนการให้บริการตามบทบาหน้าที่ของทีมสุขภาพยังขาดประสิทธิภาพ (3) ผู้ป่วยขาดการมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลเพื่อการดูแลตนเอง และ (4) ขาดการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน และ 2) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) มุ่งเน้นที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นศูนย์กลาง (2) มีนโยบายที่ชัดเจนและความร่วมมือของทีมสุขภาพ และ (3) มีความร่วมมือกับชุมชนและประสานความร่วมมือกับหน่วยบริการพื้นฐาน และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมกับบริบทของสถาบันบำราศนราดูร ในระดับมากที่สุด (M=4.8)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผู้ป่วย--การดูแลth_TH
dc.subjectไต, การล้างทางหน้าท้องth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง หน่วยไตเทียม สถาบันบำราศนราดูรth_TH
dc.title.alternativeThe development of a care management model for patients undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis at hemodialysis unit in Bamrasnaradura Infectious Disease Instituteth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research were: 1) to analyze the situations and expectations of care management for patients undergoing Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) at the Hemodialysis Unit in Bamrasnaradura Infectious Disease Institute, 2) to develop a care management model for these patients, and 3) to evaluate the appropriateness of the developed model. Key informants for analyzing the situations and expectations of the care management for patients undergoing CAPD were selected by the purposive sampling technique, including 1 physician, 8 professional nurses, 3 patients, and 3 caregivers. Experts were chosen for evaluating the appropriateness of the developed model included 4 representatives of the key informants: 3 administrators, 2 professional nurses, and an expert. Research tools consisted of: (1) a semi-structure interview for analyzing the situations and expectations of care management for the patients and (2) the guidelines for evaluating an appropriateness of the developed model. The first tool was verified by 5 experts, and the content validity index was 0.83. Data were analyzed by percentage and content analysis. The research findings were as follows. 1) After analysis the situations and the expectations of care management for the patients, 4 issues were found: (1) the hospital policy and health care services structure were unclear, (2) health care design and procedures of services as health care providers role were ineffective, (3) patients did not participate in a self-care and treatment program, and (4) the hospital and the community were not connected. 2) The developed model for the patients comprised 3 components: (1) focusing on patients and caregivers center, (2) clear policy and cooperation of a health care team, (3) community cooperation and coordination with basic health centers 3) The appropriateness of care management for the patients undergoing CAPD at Hemodialysis Unit in Bamrasnaradura Infectious Disease Institute was at at the high level (M=4.80)en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 155196.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons