Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7992
Title: | การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง |
Other Titles: | Respite in respect to administrative orders |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิรัตน์ อุตชี, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี อุทธรณ์ การบังคับคดี วิธีพิจารณาคดีปกครอง พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายต่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหลักการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขหลักการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย คําพิพากษาของศาลและเอกสารในรูปแบบอื่น รวมทั้งแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า ในระบบกฎหมายของไทยการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไม่เป็นเหตุให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน โดยเจ้าหน้าที่ หรืออาจจะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องนั้นบัญญัติให้การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเป็นการทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองโดยอัตโนมัติ แต่การมีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติเหล่านั้น มีผลเพียงเพื่อรอผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์เท่านั้น จึงควรแก้ไขหลักการ โดยให้มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 1 เดือน เมื่อผู้รับคําสั่งได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองและให้มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งจะทำให้สิทธิของบุคคลได้รับการคุ้มครองต่อเนื่อง ส่วนของพระราชบัญญัติฉบับทบัญญัติให้การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ไม่มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองนั้น เมื่อได้เข้าสู่การพิจารณาของศาล ก็ให้เป็นอำนาจของศาลในการพิจารณาว่าควรจะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคําสั่งทางปกครองให้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ควรมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีมาตรฐานในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7992 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License