Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8044
Title: | แบบจำลองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนโดยการบูรณาการระบบการบริหารคุณภาพโดยรวมและระบบการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก |
Other Titles: | The sustainable product development model by integrated total quality management and total preventive maintenance system in product development process of plastic resin industry |
Authors: | สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา เธียรไชย จิตต์แจ้ง, อาจารย์ที่ปรึกษา อรรถวุฒิ คุ้มครอง, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ -- แบบจำลอง ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก การบริหารคุณภาพโดยรวม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนั้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบจำลองของการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดย การบูรณาการระบบการบริหารคุณภาพโดยรวม และระบบการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วน ร่วม และรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ความสำเร็จและความล้มเหลวของการใช้แบบจำลองการพัฒนาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ด พลาสติก (3) พัฒนากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของสินค้าทั่วไป และสินค้าพิเศษรวมถึงกับการ สร้างกระบวนการในการพัฒนาร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก ประชากรที่ศึกษา คือ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่ดำเนินการในช่วงเดึอน ตุลาคม 2548 ถึง เดือนมิถุนายน 2549 ของบริษัท ซี ซี ซี โพลิโอเลฟินส์ จำกัด โดยแบ่ง โครงการ ออกเป็นการพัฒนาสินค้าทั่วไป การพัฒนาสินค้าพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือการทคลองการนำ แบบจำลองและระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าไปใช้จริงแล้วเปรียบเทียบกับโครงการที่มีลักษณะ เดียวกัน เงินลงทุนใกล้เคียงกัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยใช้ตัววัดด้านคุณภาพ ความสูญเสีย ระยะเวลา และการควบคุมต้นทุน ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้น และระบบการป้องกันการซ่อมบำรุง สามารถ นำมาใช้กับการพัฒนาเม็ดพลาสติกได้ดี โดยตัววัดที่นำมาใช้นั้น สามารถชี้ให้เห็นถึงระบบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ในด้านคุณภาพของสินค้าและเวลาในการพัฒนาพบว่าทั้งสินค้าพิเศษและ สินค้าทั่วไปควบคุมได้ดีขึ้น ด้านการควบคุมต้นทุนพบว่า สินค้าพิเศษยังไม่สามารถลดได้เนื่องจาก มีการใช้วัตถุดิบใหม่ๆ มาพัฒนา ด้านความสูญเสียพบว่าทั้งจำนวนของเสียจากการทดลองและเวลา ในการเริ่มทดลอง สินค้าทั่วไปทำได้ดีขึ้นส่วนสินค้าพิเศษยังไม่สามารถลดได้ ส่วนระบบการพัฒนา ร่วมพบว่า ช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่พบปัญหาด้านการควบคุมเวลาใน การพัฒนาที่ยังไม่เป็นไปตามกำหนดไวั |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8044 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License