Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8110
Title: พฤติกรรมการบริโภคนมถั่วเหลืองของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Soy milk consumption behaviors of Samut Songkhram's consumers
Authors: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัสนันทน์ พงษ์สวัสดิ์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
นมถั่วเหลือง
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- สมุทรสงคราม
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคนมถั่วเหลืองของผู้บริโภคใน จังหวัดสมุทรสงคราม (2) ศึกษาปัจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคนมถั่วเหลืองของผู้บริโภคในจังหวัด สมุทรสงคราม (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อนมถั่วเหลืองของผู้บริโภคในจังหวัด สมุทรสงคราม งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสงคราม ที่เคยบริโภคและไม่เคยบริโภคนมถั่วเหลืองจำนวน 408 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของประชากร ในแต่ละอำเภอรวมทั้งสิ้น 3 อำเภอ ในจังหวัดสมุทรสงคราม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การทดสอบค่าสถิติ แบบไค-สแควร์, การทดสอบแบบที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันจะมีพฤติกรรมการบริโภคนมถั่วเหลืองทั้งที่แตกต่าง กันและไม่แตกต่างกัน (2) ด้านพฤติกรรมการบริโภคนมถั่วเหลือง ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีเหตุผลที่บริโภคเพราะมีคุณค่า ทางโภชนาการ เลือกวิธีบริโภคจากการพิจารณาส่วนประกอบบนฉลาก ส่วนใหญ่ตัดสินใจบริโภคด้วยตนเอง ความถี่ที่ บริโภคแล้วแต่โอกาสและไม่จำกัดช่วงเวลาในการบริโภค สถานที่ซื้อนมถั่วเหลืองซื้อจากร้านค้าปลีก เลือกสถานที่ซื้อ ด้วยเหตุผลเพราะความสะดวก (3) ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อนมถั่วเหลืองในระดับมากที่สุด ได้แก่ รสชาติอร่อย, มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเชื่อมั่นในคุณภาพผลิต ภัณฑ์ด้านราคา ได้แก่ ความเหมาะสมของราคากับปริมาณที่บรรจุ, การเพิ่มปริมาณบรรจุแต่ราคาคงเติมและการปรับ ราคานมถั่วเหลืองมีผลต่อการตัดสินใจบริโภค ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ แหล่งจำหน่ายสะดวกซื้อ, การขยายจุดขายครอบคลุมทุกพื้นที่ และการเพิ่มช่องทางการขายโดยการจัดส่งนมถั่วเหลืองถึงบ้าน ด้านการส่งเสริมการ ตลาด ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของนมถั่วเหลืองของผู้ผลิต, การโฆษณาทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของ นมถั่วเหลืองมากขึ้น และเลือกบริโภคนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มที่มีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ (4) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้ แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคในด้านต่างๆ แตกต่างกัน (5) ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ วุฒิการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีความ สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อนมถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, สำหรับปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และอาชีพ พบว่ามีความสัมพันธ์กันการตัดสินใจซื้อนมถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8110
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
97457.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons