Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8138
Title: การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านคลองอุดม จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: An evaluation of the school-based curriculum in the mathematics learning area at the lower secondary level of Ban Khlong Udom School in Chachoengsao Province
Authors: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกวรรณ แพไธสง, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประเมินหลักสูตร
การประเมินผลทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านคลองอุดม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการใช้ และด้านผลผลิตของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูวิชาการ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรในภาพรวม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ เอกสารหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร ความพร้อมของบุคลากร และสื่อการเรียนรู้ ส่วนด้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ สี่งอำนวยความสะดวก และงบประมาณ (2) ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร ได้แก่ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุก ด้านและ (3) ด้านผลผลิตของหลักสูตร พบว่า ผลสัมฤทธิทางการเรียน ผลการทดสอบคุณภาพ การศึกษาระดับชาติ (O-NET) วิชาคณิตศาสตร์ และการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขื้นไป ร้อยละ 88.30 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8138
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_145402.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons