Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8153
Title: การบริหารการพัฒนาที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
Other Titles: Development administration supporting the interior intellectual property promotion of the Department of Intellectual Property
Authors: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
มยุรี พันธุ์ชื่น, 2496
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
กรมทรัพย์สินทางปัญญา--การบริหาร
การบริหารการพัฒนา
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อขีดความสามารถในการบริหารการพัฒนา ปัญหา แนวทางการบริหารการพัฒนา เปรียบเทียบภาพรวม และ (2) ศึกษาภาพรวมแนวโน้มขีดความสามารถในการบริหารการพัฒนาที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่านการทดสอบหาความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.70 สำหรับสถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากข้าราชและประชาชนดำเนินการระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้กลุ่มตัวอย่าง 925 คน คิดเป็นร้อยละ 84.24 ของแบบสอบถามทั้งหมด (1,130 ชุด) ผลการศึกษาปรากฎว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ล้วนเห็นด้วยในระดับปานกลาง ในเรื่อง (1) ขีดความสามารถในการบริหารการพัฒนาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา (2) ปัญหาและแนวทางการบริหารการพัฒนา (3) ภาพรวมขีดความสามารถในการบริหารการพัฒนาว่าในปัจจุบันสูงกว่าในอดีต และสูงกว่าหน่วยงานอื่น และ (4) ภาพรวมขีดความสามารถในการบริหารการพัฒนาทั้ง 11 ด้านของกรมทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับข้อเสนอแนะแบ่งเป็นข้อเสนอแนะด้านการบริหารการพัฒนา 11 ด้าน เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรปลูกฝังให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรมและด้านการบริหารงบประมาณ กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องหาแนวร่วมในการผลักดันให้สังคมเห็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ส่วนด้านโครงสร้างใหญ่ กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับภารกิจและร่วมมือในการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรนำตัวแบบPAMS-POSDCoRB ไปปรับใช้ในการศึกษาในอนาคต และศึกษาการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ของผู้มีอำนาจหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบทรัพย์สินทางปัญญา
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8153
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
98041.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons