Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8175
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำสาขาคลองละงู จังหวัดสตูล
Other Titles: People participation to water resources management, sub basin La-ngu, Satun province
Authors: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมโชติ พุทธชาติ, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ทรัพยากรทางน้ำ--การจัดการ
การจัดการน้ำ--การมีส่วนร่วมของประชาชน.--ไทย--สตูล
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
ลุ่มน้ำสาขาคลองละงู--ไทย--สตูล
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลุ่มน้ำสาขาคลองละงู จังหวัดสตูล (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (3) ปัญหา ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อาศัยในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ สาขาคลองละงู จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็นตอน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติ ดังนี้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทคสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนในน้ำลุ่มน้ำสาขาคลองละงู จังหวัดสตูล มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.96) (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำสาขาคลองละงู จังหวัดสตูล ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพ รายได้ อาชีพ การดำรงตำแหน่ง/เคยคำรงตำแหน่งในชุมชน ประเภทของสื่อในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ ความถี่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความเห็นที่มีต่อหน่วยงาน ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ปัจจัยจูงใจด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความไม่คาดหวังในผลประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และการรับการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิดิที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ประชาชนที่มีปัจจัยดังกล่าวมากจะส่งผลให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรน้ำมากขึ้น (3) ปัญหา อุปสรรดและข้อเสนอแนะ ในการเข้ามามีส่วนร่วมการบริหารทรัพยากรน้ำ พบว่า มีปัญหาหลัก 3 อันดับแรก คือ (ก) ไม่มีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 63.3 (ข)ไม่ทราบเป้าหมายของการเข้าไปมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 50.5 (ค) ไม่พร้อมในทางเศรษฐกิจ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 25.3
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8175
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_119157.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons