Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุธรรม มดคัน-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-03T03:15:00Z-
dc.date.available2023-08-03T03:15:00Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8384-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ (2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรของคอร์แครน ได้จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที การวิเคราะความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบเชิงพหุคูณด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พบว่า ในภาพรวมให้ความสำคัญในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยรวม อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 5 ตัวแปร คือ ด้านห้องพักและบริการเสริม ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคา และด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านห้องพักและบริการเสริม ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักในทิศทางเดียวกัน แต่ด้านราคา และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการตัดสินใจth_TH
dc.subjectที่พักนักท่องเที่ยว--ไทย--กระบี่th_TH
dc.subjectที่พักนักท่องเที่ยว--ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeMarketing mix affecting Thai tourists decision-making on selecting accommodation at Lanta Island in Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were (1) to study the level of accommodation decisions by Thai tourists in Lanta Island, Krabi Province (2) to compare accommodation decision of Thai tourists in Lanta Island, Krabi Province, classified by personal factors, and (3) to study the marketing-mix factor affecting accommodation decision of Thai tourists in Lanta Island, Krabi Province. The population of this qualitative research consisted of the Thai tourists visiting Lanta Island, Krabi Province, with unknown number. The sample size was calculated for using W.G. Cochran's formula yielding 400 participants by convenient sampling method. A constructed questionnaire was used as a tool to collect data. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way Analysis of Variance, and Scheffe’s pairwise analysis, and multiple regression analysis. The study results revealed that (1) the level of Thai tourists' accommodation decisions in Lanta Island, Krabi Province was overall at a high level (2) Thai tourists who had different age, marital status, educational level, and different monthly incomes, had different decisions to choose accommodation in Lanta Island, Krabi Province with a statistical significance at 0.05 level, and (3) the marketing–mix factors which influenced Thai tourists' accommodation decisions in Lanta Island, Krabi Province consisted of 7 factors, all of which helped to predict the accommodation decision of Thai tourists in Lanta Island, Krabi Province at 54.7 percent and factors of room and additional services, marketing promotion, physical environment, price, and service procedure had the same direction while price and physical environment had opposite direction.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166540.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons