Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8402
Title: การศึกษาความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่นในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Study of readiness of local government organizations on primary care unit servicing in the system of national health security, Nonthaburi Province
Authors: จีระ ประทีป
ศักดา เมืองคำ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--นนทบุรี
คลินิกชุมชนอบอุ่น
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดนนทบุรีในการจัดบริการคลินิกชุนชนอนอุ่น (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการคลินิกชุนชนอบอุ่นและ (3) เสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการ คลินิกชุมชนอบอุ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบนสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่นตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความพร้อมอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ทั้งทางด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ด้านการจัดการ และด้านการส่งต่อและเชื่อมต่อกับบริการอื่น (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดและประเภทที่แตกต่างกัน มีความพร้อมในการจัดบริการคลินิกชุมชนอบอุ่นไม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งต้องการให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดตั้งคลินิกชุมชนอนอุ่น เพื่อให้เกิดการบริการทางด้าน สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ควรทำการประชาสัมพันธ์และจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความ คิคเห็นรวมกันระหว่างภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความ เข้าใจความร่วมมือ และการทำแผนร่วมกันให้เกิดการพัฒนาการบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ อย่างมีประสิทธิภาพ.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8402
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
100915.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons