Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8601
Title: | การวิเคราะห์รายงานทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด |
Other Titles: | Financial report analysis of Chaiyaphum Teacher Savings and Credit Cooperatives, Limited |
Authors: | วรรณี ชลนภาสถิตย์ สมพร ทรงจอหอ, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ--การเงิน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 (2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด กับค่าเฉลี่ยมาตรฐานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีขนาดเดียวกันทั้งระบบในช่วงเวลาเดียวกัน วิธีการศึกษาครั้งนี้ ใช้เครื่องมือทางการเงินในการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดของคาเมล พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีขนาดเดียวกันทั้งระบบในช่วงเวลาเดียวกันผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสหกรณ์ฯ ด้านความเพียงพอของเงินทุนมีความเสี่ยงเนื่องจากมีสัดส่วนหนี้สินมากกว่าทุน ด้านคุณภาพของสินทรัพย์ มีการบริหารสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของสหกรณ์คือลูกหนี้ ดังนั้น การบริหารจัดการลูกหนี้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ด้านขีดความสามารถในการบริหาร มีการบริหารงานที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกได้ดี ด้านความสามารถในการทำกำไรทำได้ค่อนข้างต่ำ ด้านสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี เนื่องจากมีสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ด้านผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ทั้งสภาพเศรษฐกิจอัตราดอกเบี้ย ล้วนส่งผลกระทบต่อการบริโภค และการผ่อนชำระหนี้ของสมาชิก จึงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกับต้องพยายามสร้างวินัยทางการเงินแก่สมาชิก (2) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสหกรณ์ออมทรัพย์กับค่าเฉลี่ยมาตรฐานของสหกรณ์ออมทรัพย์ พบว่า ด้านความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ด้านคุณภาพของสินทรัพย์การบริหารจัดการสินทรัพย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ด้านขีดความสามารถในการบริหารมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ด้านความสามารถในการทำกำไรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ส่วนด้านสภาพกล่องมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยมาตรฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8601 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130386.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License