Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8660
Title: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / MEP โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Other Titles: The effects of using a guidance activities package to promote attitude toward English learning of Prathom Suka IV / MED students at Anuban Sakon Nakhon School in Sakon Nakhon Province
Authors: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกสิทธิ์ ผลอรรถ, 2531- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--สกลนคร
ภาษาอังกฤษ--การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรม MEP กลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรม MEP โรงเรียน อนุบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน เท่ากันกลุ่มทดลองได้ใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และกลุ่มควบคุมได้ร่วมกิจกรรม แนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใซ้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างเจตคติต่อ การเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และ (2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบ วิลคอกชัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อการเรียน วิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8660
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_156346.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons