Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8677
Title: ศักยภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมเจ้าท่า
Other Titles: Learning organization potential of Marine Department
Authors: ธนชัย ยมจินดา
ชุลีพร แสงรอด, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การเรียนรู้
กรมเจ้าท่า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ (2)เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อศักยภาพความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของกรมเจ้าท่า กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการประจำกรมเจ้าท่า จำนวน 250 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 664 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใซัวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การ หาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานจะใช้สถิติได้แก่ การ ทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี แอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า (1) ศักยภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมเจ้าท่าในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับสูงทั้ง 5 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการให้อำนาจและสร้างความสามารถให้กับบุคคล ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารความรู้ (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีประเภทตำแหน่งงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อศักยภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของกรมเจ้าท่า ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบรายคู่ ด้วยวิธี แอลเอสดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประเภทตำแหน่งงานในระดับวิชาการมีความคิดเห็นต่อศักยภาพด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ด้านการให้อำนาจและสร้างความสามารถให้กับบุคคล ด้านการบริหารความรู้ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และในภาพรวม สูงกว่ากลุ่มที่มีประเภทตำแหน่งงานอยู่ในระดับทั่วไป อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อศักยภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมเจ้าท่า ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา อายุในการทำงาน และประเภทตำแหน่งงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อศักยภาพ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมเจ้าท่าด้านการให้อำนาจและสร้างความสามารถให้กับบุคคลแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8677
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130387.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons