Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอาภรณ์ อัครเมธากุล, 2509-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-10T03:19:00Z-
dc.date.available2023-08-10T03:19:00Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8715-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของจังหวัดเรียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาในการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดเชียงใหม่ (3) แนวทางแก้ไขในการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลขากเอกสาร และรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทดนิดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์สรุป และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการเปรียบเทียบสถิติการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาคเจ็บหรือเสียชีวิต และผลการดำเนินงาน ปี 2552 และปี 2553 โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ผลการบริหารบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดเชียงใหม่ มีสถิติจำนวนอุบัติเหตุ จำนวนผู้บาดเจ็บ และจำนวนสู้เสียชีวิต ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2553 มากกว่าปี พ.ศ. 2552 คิดเป็นร้อยละ 30.34, 40.91 และ 9.09 ตามลำตับ (2) ปัญหาในการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดเชียงใหม่ ตามมาตรการที่สำคัญ คือมาตรการด้านการบริหารจัดการ เช่น ได้รับจัดสรรงบประมาณในจำนวนจำกัด ทำให้มีการจัดตั้งจุดตรวจบูรณาการร่วมลดลง และอัตราค่าตอบแทนสำหรับสู้ปฏิบัติงานได้รับต่ำกว่าอัตราค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการคามระเบียบกระทรวงการคลังและบุคลากรที่มีจำนวนจำกัดต้องหมุนเวียนทำงานตลอดช่วงเทศกาลโดยไม่มีวันหยุด มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เช่น เครื่องตรวจจับความเร็วยังไม่มีใช้ครบทุกสถานีตำรวจในพื้นที่อำเภอ และมาตรการด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก เช่น เยาวชนในหมู่บ้านและชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีวินัยจราจรละเลยการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเข้มงวด (3) แนวทางแก้ไข ตามมาตรการด้านการบริหารจัดการ เห็นควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอหรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณรองรับ เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของจังหวัดเชียงใหม่ และควรพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามระเบียบกระทรวงคลัง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนด้านบุคลากรที่มีจำนวนจำกัดนั้น ควรจะบูรณาการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานร่วมกันตามมาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เห็นควรมีการจัดซื้อและแจกจ่ายเครื่องตรวจจับความเร็วเพื่อให้มีใช้ครบทุกสถานีตำรวจในพื้นที่อำเภอ และตามมาตรการด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก เห็นควรให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนเละสร้างจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มีวินัยจราจร ผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและจริงจังth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุ--การป้องกันth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน--การป้องกันและควบคุม--การประเมินth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจth_TH
dc.titleการประเมินผลการบริหารการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของจังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeEvaluation of road accidents prevention and reduction administration of Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_118918.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons