Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8758
Title: | โครงการเพื่อการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศภาคที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Demand-side management for air-conditioner program : a case study of residential sector in Lampang Province |
Authors: | จีราภรณ์ สุธัมมสภา สุชาติ วานิชผล, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ไฟฟ้า--การใช้พลังงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาเรื่องโครงการเพื่อการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ของเครื่องปรับอากาศภาคที่อยู่อาศัย กรณีศึกษาบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดลำปางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรณีศึกษาการใช้ไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศภาคที่อยู่อาศัย ทั้งก่อนและหลังล้าง ณ อุณหภูมิ 25, 26 และ 27°C รวมทั้งผลกระทบทางการเงินและสิ่งแวดล้อม จากการใช้เครื่องปรับอากาศของบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อการวางแผนในการจัดการรณรงค์ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการล้างและปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อไป วิธีดำเนินงานศึกษา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากภาคที่อยู่อาศัย ในเทศบาล จังหวัดลำปาง โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 47 เครื่อง ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมและไฟฟ้าบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าทุก ๆ 1 นาที ติดต่อกัน 3 ชั่วโมง สภาวะที่อุณหภูมิ 25, 26 และ 27°C ทั้งก่อนและหลังล้างเครื่องปรับอากาศ พร้อมเก็บข้อมูลเครื่องปรับอากาศ และสัมภาษณ์ความพึงพอใจตามสภาวะแต่ละอุณหภูมิ จากนั้นนำมาประมาณการถึงจำนวนพลังงานและค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ ผลการศึกษา พบว่าการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลดลง ทุก 1°C การใช้พลังงานไฟฟ้าจะลดลง 10 -15% กล่าวคือค่าเฉลี่ยพลังงานไฟฟ้าต่อเครื่องที่อุณหภูมิ 25, 26 และ 27 °C เท่ากับ 0.693, 0.585 และ 0.522 หน่วยตามลำดับ ขณะที่การล้างเครื่องปรับอากาศค่าพลังงานไฟฟ้าต่อเครื่องก่อนล้าง และหลังล้างเครื่องปรับอากาศที่ 0.68 และ0.52 หน่วยตามลำดับ ใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง 23.53% เมื่อทราบถึงผลประโยชน์ผู้ใช้งานสนใจที่จะล้างเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ และตั้งอุณหภูมิใช้เครื่องปรับอากาศที่ 26°C โดยสามารถประหยัดพลังงานและคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ ที่ประมาณการจากการศึกษาครั้งนี้ เป็นจำนวนปีละ 3,598,931,693 หน่วย และ 11,804,495,952 บาทตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8758 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
122418.pdf | 6.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License