Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/887
Title: การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษากรณีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
Other Titles: Military intervention in Thai politics : a case study of the 19 September 2006 coup d' état
Authors: รุ่งพงษ์ ชัยนาม
คึกฤทธิ์ เรกะลาภ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ทหารกับการเมือง
รัฐประหาร -- ไทย
ปฏิวัติ -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- 2549
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 (2) วิธีการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร (3) ปัจจัยที่ทำให้การรัฐประหารประสบความสำเร็จ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน คือ กลุ่มนักวิชาการด้านการทหาร กลุ่มทหารที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร จำนวนกลุ่มละ 2 คน และกลุ่มนักการเมือง จำนวน 4 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และจากเอกสาร หนังสือ วารสารที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาจากสองปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในกองทัพ ได้แก่ ผลประโยชน์ของกลุ่มทหารถูกกระทบกระเทือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารตำแหน่งสำคัญของกองทัพ ปัจจัยภายนอกกองทัพ ได้แก่ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ (2) วิธีการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ทำโดยการใช้อิทธิพลกดดันนโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาล การข่มขู่ว่าจะใช้กำลังการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทั้งชุด โค่นล้มอำนาจหรือการยึดอำนาจ (3) ปัจจัยที่ทำให้การรัฐประหารประสบความสำเร็จ ได้แก่ ความรวดเร็วในการปฏิบัติการ การประสานงานที่ดี และการมีระบบการสื่อสารที่ดีทันสมัย
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/887
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib110124.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons