Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประพันธ์ วงค์น้ำนอง, 2506-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-08-24T10:10:39Z-
dc.date.available2023-08-24T10:10:39Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9085en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางบการเงินของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มพลังงานและ สาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับ(1)รายการสินทรัพย์ที่มีการด้อยค่าและการโอนกลับ การด้อยค่า (2) การรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์(3) ผลกระทบจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ประชากรที่ใช้ศึกษาคืองบการเงินของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 25 บริษัท ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2554 รวมรอบระยะเวลาบัญชี 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ไนการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความถี่ ผลการวิจัยพบว่า (1) รายการสินทรัพย์ที่มีการด้อยค่า ในงบการเงินตั้งแต่ปี 2550 - 2554 มีมูลค่าการ ด้อยค่าของสินทรัพย์ถึง 11.90 หมี่นล้านบาท พบว่ารายการเงินลงทุนเกิดการด้อยค่าของสินทรัพย์ถึง 7.168.90 ล้านบาทหรือร้อยละ 60.26 และรองลงมาคือที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เท่ากับ 3,987.20 ล้านบาทหรือร้อยละ 33.52 และมีมูลค่าการโอนกลับการด้อยค่าของสินทรัพย์ถึง 2,561.20 ล้านบาท โดยรายการเงินลงทุนมีการโอนกลับการ ด้อยค่าของสินทรัพย์มากที่สุดถึง 1,025.71 ล้านบาทหรือร้อยละ 40.05 และรองลงมาคือที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เท่ากับ 1,014.81 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.63 (2) การรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ วันที่รายงานในงบแสดง ฐานะการเงิน บริษัทฯ จะประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า หากมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า บริษัทฯ จะประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ และหากพบว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัทฯจะรับรู้ผลขาดทุนจากการต้อยค่าของสินทรัพย์ในงบกำไรขาดทุน บริษัทฯ จะบันทึกกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าการด้อยค่าดังกล่าวไม่มีอยู่อีกต่อไป และจะบันทึกเป็นรายได้ในงบ กำไรขาดทุน ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์ (3) ผลกระทบจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ต่องบการเงิน ทั้ง 5 ปีมีมูลค่าผลขาดทุนจากการด้อยค่า ของสินทรัพย์รวม 11.90 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 0.16 ของมูลค่าของสินทรัพย์รวมคือ 7.29 ล้านล้านบาทหรือ เท่ากับร้อยละ 1.90 ของมูลค่าของกำไรขาดทุนรวมคือ 6.27 แสนล้านบาท และมีการโอนกลับผลขาดทุนจากการ ด้อยค่าของสินทรัพย์รวม 2,561.21 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.05 ของมูลค่าของสินทรัพย์รวมหรือเท่ากับร้อยละ 0.61 ของมูลค่าของกำไรขาดทุนรวมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectบริษัทมหาชน--ไทยth_TH
dc.titleการด้อยค่าของสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeImpairment of assets of the energy and infrastructure group of companies listed in the Stock Exchange of Thailandth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were to study the financial statements of the Energy and Infrastructure Group of companies listed in the Stock Exchange of Thailand in terms of (1) the transactions of the impairment of assets and the impairment reversals, (2) the recognition of the impairment of assets, and (3) the impacts of the impairment of assets. The population consisted of 25 companies listed in the Stock Exchange of Thailand between 2550 and 2554 of five-year accounting period. The accounting records were used for data collection. The data was analyzed by using percentage, mean, and frequency. The results showed that (1) the impairment of assets in financial statement between 2550 and 2554 was 11.90 billion baht. The investment was impaired up to 7,168.90 million baht or 60.62 percent while the land, building and equipment were impaired 3,987.20 million baht or 33.52 percent. The impairment reversals were 2,561.20 million baht. The investment was the highest impairment reversal up to 1,025.71 million baht or 40.05 percent while the land, building and equipment was only 1,014.81 million baht or 39.63 percent; (2) the companies would assess whether there were any indicators of the impairment of assets and the recoverable amount of assets were estimated if the indicators were found. The companies would recognize a loss of the impairment of assets in the income statement when the carrying amount was higher than the recoverable amount. The companies would reserve an impairment loss as an income in the income statement when such impairment was indicated as no longer existed. A loss of the impairment of goodwill was not reversed for the impairment of assets; and (3) the total loss of the impairment of assets was 11.90 ten billion baht or 0.16 percent of the value of total assets which was 7.29 trillion baht or 1.90 percent of the value of total income which was 6.27 hundred billion baht. The total reversal of loss of the impairment of assets was 2,561.21 million baht or 0.05 percent of total value of assets or 0.61 percent of total value of incomeen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_135420.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons